วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ค่าออกเทนมีผลอย่างไรกับเครื่องยนต์

ในปัจจุบันราคาน้ำมันได้สูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้รัฐบาลต้องออกมารณรงค์ เกี่ยวกับการประหยัดน้ำมันโดยมีข้อ ความเชิญชวนต่างๆ เช่น “ ใช้ 91 เติม 91 ” หรือ “ ขับ 90 กม./ชม.แทน110 กม./ชม. ” หรือ “ ใช้แก๊สโซฮอล์ 95 แทนเบนซิน 95 ” และ จากกระทู้ต่างๆที่สอบถามเข้ามายัง Webboard ของเราเกี่ยวกับการเลือกใช้ค่าออกเทนที่ถูกต้องดังนั้นทางแผนกเทคนิคและฝึก อบรมจึงได้จัดหาข้อมูลที่น่าสนใจและน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้รถยนต์ให้ สามารถทราบถึงข้อมูลของค่าออกเทนเพื่อที่จะได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับการ เลือกใช้ค่าออกเทนที่เหมาะสมสำหรับเครื่องยนต์ ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ สูงสุดกับเจ้าของรถยนต์และประเทศชาติของเรา

ค่าออกเทน คือ อะไร...

โดย ปกติแล้วในน้ำมันเบนซินจะถูกเติมสารเพิ่มค่าออกเทน เพื่อจะทำให้น้ำมันมีคุณสมบัติทนต่อการน๊อคได้สูงขึ้น เช่นเดียวกับการเพิ่มค่าซีเทนในน้ำมันดีเซล ซึ่งในอดีตสารที่ใช้ในการเพิ่มค่าออกเทน จะมีส่วนผสมของสารตะกั่วประกอบอยู่ด้วย โดยสารตะกั่วจะทำให้เกิดมลพิษจากไอเสีย ซึ่งเป็นผลร้าย ต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมแต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาคุณภาพของน้ำมันโดยไม่ต้อง ใช้สารตะกั่วมาเป็นสาร ประกอบเพื่อเพิ่มค่าออกเทนอีกต่อไป ดังนั้นเราจึงได้ยินคำว่า “ น้ำมันไร้สารตะกั่ว ” ซึ่งในขณะนี้มีอยู่ 2 ชนิดในท้องตลาดคือ น้ำมันเบนซินออกเทน 91 และน้ำมันเบนซิน ออกเทน 95 โดยทั้ง 2 ชนิด จะเป็นน้ำมันที่ไร้สารตะกั่วทั้งคู่

ค่าออกเทน คือ คุณสมบัติของน้ำมันที่แสดงถึงความสามารถในการต้านทานการจุดระเบิดก่อนเวลาที่กำหนดใน เครื่องยนต์เบนซิน หรือเป็นค่าที่แสดงถึงความต้านทานการน็อคของเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ซึ่งใน เครื่องยนต์แต่ละรุ่นแต่ละแบบจะมีความต้องการค่าออกเทนที่ไม่เท่ากันโดยขึ้น อยู่กับการ ออกแบบของวิศวกรและบริษัทผู้ผลิตรถยนต์

ผลลัพธ์ที่ได้ คือ...
เมื่อผู้ใช้รถยนต์ใช้น้ำมันที่มีค่าออกเทนที่เหมาะสมกับความต้องการหรือข้อ กำหนดของเครื่องยนต์จะทำให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งาน และยังช่วยให้ประหยัดทรัพยากร รวมทั้งยังประหยัดเงิน แต่ถ้าใช้น้ำมันที่มีค่าออกเทนต่ำกว่าความต้องการอาจทำให้เครื่องยนต์เกิด การน็อคทำให้ประสิทธิภาพ ของเครื่องยนต์ลดลง รวมถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับตัวกรองไอเสียในขณะเดียวกันหากใช้น้ำมัน ที่มีค่าออกเทนสูงเกินความต้องการของเครื่องยนต์ ถึงแม้จะไม่ส่งผลกระทบต่อเครื่องยนต์หรือการใช้งาน แต่จะทำให้เกิดความสิ้นเปลืองได้

ดังนั้น ผู้ใช้รถยนต์จึงควรเลือกเติมน้ำมัน ตามที่คู่มือการใช้รถยนต์ระบุไว้ เพื่อประสิทธิภาพต่อเครื่องยนต์และเป็นการประหยัดต่อผู้ใช้รถยนต์เอง

เกียร์ B ของ camry hybrid มีไว้ทำไม

ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า camry hybrid มีชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆนั้นแตกต่างจากรถยนต์ทั่วไปหรือแม้กระทั่งในรถ ยนต์ camry ด้วยกันเอง ดังเช่น ตำแหน่งของเกียร์ ซึ่งรถทั่วไปจะมีตำแหน่งเกียร์ที่ เราคุ้นกันคือ P , R ,N ,D ,3 , 2 , L แต่สำหรับ camry hybrid จะมีตำแหน่งเกียร์ คือ P , R ,N ,D ,B จะสังเกตได้ว่ามีบางเกียร์หายไปและจะมีบางเกียร์เพิ่มมา เฉพาะ camry hybrid เท่านั้นและในการนี้ขอกล่าวถึงตำแหน่งของเกียร์ B เท่านั้น

จะเห็นได้ว่าใน camry ที่ไม่ใช่ hybrid ที่เป็นโฉมเดียวกันกับ camry hybrid จะมีบางสิ่งบางอย่างที่-
แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในแต่ละรุ่น ได้แก่ 3.5 , 2.4 , และ 2.0 ลิตรในเรื่องของตำแหน่งเกียร์ B ของ camry hybrid นั้นจะมีประโยชน์มากสำหรับเจ้าของรถตลอดจนผู้ขับขี่ กล่าวคือ จะได้ทั้งประโยชน์ , ทั้งความเพลิดเพลิน , มีความปลอดภัย , มีความประหยัด ( ผ้าเบรก ) เป็นต้น.

เมื่อขับขี่รถยนต์ตามเส้นทางต่างๆ หากต้องการใช้ตำแหน่งเกียร์ B ผู้ขับขี่สามารถกระทำได้เป็น-
การหน่วงความเร็วโดยอาศัยมอเตอร์ไฟฟ้า โดยที่ผู้ขับขี่ไม่ต้องเหยียบเบรกเลยแม้แต่น้อย เป็นการชะลอรถยนต์ด้วยความเร็วที่ลดลงเพียงแค่เลื่อนคันเกียร์ไปในตำแหน่ง B เท่านั้น สังเกตใด้บนมาตรวัด หากมีการเลื่อนเกียร์แล้ว ไฟจะสว่างขึ้นตรงตัวอักษร B อาการของรถยนต์ก็จะลดความเร็วลง นอกจากนั้นระบบไฟจะทำการชาร์จไฟของระบบไฮบริดเพื่อเก็บในแบตเตอรี่ไฮบริด เช่นเดียวกับในกรณีที่รถยนต์จอดนิ่ง มีข้อแม้จะต้องเลื่อนคันเกียร์ไปในตำแหน่ง P เท่านั้น มิฉะนั้นจะไม่มีการชาร์จไฟของระบบไฮบริดแต่อย่างใด เมื่อเป็นเช่นนี้เครื่องยนต์จะมีการทำงาน เพื่อทำการชาร์จไฟเข้าสู่ระบบไฮบริด ก็เท่ากับว่าการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงก็จะมากขึ้นตามลำดับ หากการขับขี่ของผู้ใช้รถยนต์กระทำตามที่ใด้ระบุอยู่ในคู่มือการใช้รถ ดังเช่น ตำแหน่งเกียร์ B ตามที่กล่าวมาจะส่งผลต่อระบบไฟฟ้าของระบบไฮบริด แต่ยังมีสิ่งที่เจ้าของรถและผู้ขับขี่ได้ประโยชน์อีก คือ การสึกหรอของผ้าเบรกจะน้อยลงอย่างมากถึงแม้ว่าจะขับด้วยความเร็วสูงก็ตาม ก็สามารถกระทำได้ตามความต้องการและอาการของรถยนต์ก็ไม่เสียการทรงตัว ทางด้านผู้ขับขี่ก็ไม่เสียการควบคุมรถแต่อย่างใด

อาจมีคนสงสัยว่า หากมีการขับรถขึ้นเขาและลงเขาจะทำอย่างไรในเมื่อเกียร์อัตโนมัติรุ่นอื่นๆมี ตำแหน่งการใช้ engine brake ในขณะขับลงเขาเพื่อชะลอความเร็วยกตัวอย่างเช่น จาก D ไป 3 หรือจาก 3
ไป 2 เป็นต้นแต่สำหรับ คัมรี่ ไฮบริดผู้ขับขี่สามารถเลือกใช้ตำแหน่งเกียร์ B หรือจะเล่นเกียร์ B ได้เช่นกัน ในบางครั้งทำให้ผู้ขับขี่มีความรู้สึกว่า มีความปลอดภัยมากกว่า หรือมีการขับขี่ที่สนุกสนานมากกว่า ( อันนี้ขึ้นอยู่ความชำนาญของผู้ขับขี่ ) ถึงอย่างไรแล้วผู้ที่เป็นเจ้าของรถ คัมรี่ ไฮบริด คงจะต้องฝึกเพื่อให้เกิดความเคยชิน แล้วจะเกิดประโยชน์สูงสุดนั่นองครับ

สำหรับข้อมูลที่ได้กล่าวมานั้นหากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามไปยังแผนกเทคนิคของเราได้ในเวลาทำการครับ ท้ายนี้ขอให้ผู้อ่านทุกท่าน สุขภาพอนามัยแข็งแรง ร่ำรวยกันถ้วนหน้าครับ

เกียร์ CVT (Continuosly Variable Transmission)

เป็นเกียร์อัตโนมัติประเภทหนึ่งซึ่งจะมีลักษณะเป็นแบบแปรผัน จะมีความแตกต่างกับเกียร์อัตโนมัติทั่วไป เพราะเกียร์ cvt รูปแบบการส่งกำลังหรือการถ่ายทอดกำลังจะเป็นอีกแบบหนึ่ง ชิ้นส่วนหลักๆโดยทั่วไปจะใกล้เคียงกับเกียร์อัตโนมัติทั่วไป เช่น ชุดทอร์คคอนเวอร์เตอร์, ชุดคลัทช์, ชุดปั้มแรงดัน, ชุดเฟืองท้าย เป็นต้น แต่ในเกียร์ cvt จะมีชิ้นส่วนหลักที่แตกต่าง ได้แก่ มูเลย์ 2 ตัว , และสายพานโลหะ เป็นต้น

หลักการทำงานอย่างง่ายๆเพื่อความเข้าใจมากขึ้น ดังนี้
คือ เมื่อเครื่องยนต์ทำงานจะถ่ายทอดกำลังงานมายังชุด เกียร์ผ่านมาทางทอร์คคอนเวอร์เตอร์ หากเราทำการเข้าเกียร์ชิ้นส่วนภายในเกียร์ก็เริ่มทำงานเพลารับกำลังจะรับการ ส่งถ่ายกำลังมาจากเครื่องยนต์ ซึ่งเพลารับกำลังนี้จะมีมูเลย์ติดตั้งอยู่หนึ่งตัว จะเรียกว่ามูเลย์ขับ และจะมีอีกหนึ่งตัวเป็นตัวตามแต่จะอยู่อีกเพลาหนึ่ง โดยทั้ง 2 เพลานี้จะมีสายพานโลหะต่อเนื่องถึงกันและตัวมูเลย์ดังกล่าวนั้นสามารถปรับ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ตามความเร็วรอบ หมายความว่า รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยความเร็วต่ำ รอบเครื่องยนต์ก็ต่ำร่องของมูเลย์ตัวขับก็จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางที่เล็ก ส่วนทางด้านมูเลย์ตามนั้นเส้นผ่าศูนย์กลางนั้นจะใหญ่ ทำให้รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยความเร็วที่ต่ำนั่นเอง

แต่พอไต่ความเร็วขึ้นมาเรื่อยๆร่องของมูเลย์มี่ การปรับเปลี่ยนเส้นผ่าศูนย์กลางอย่างต่อเนื่องและการขับขี่ก็เป็นไปอย่าง นุ่มนวลต่อเนื่องราบเรียบ แต่พอต้องการความเร็วสูงนั้น มูเลย์ตัวขับจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางที่กว้างขึ้นหรือใหญ่ขึ้น ส่วนทางด้านมูเลย์ตามนั้นก็จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่แคบลงหรือเล็กลง เป็นผลให้มีรอบของการหมุนเพิ่มขึ้น ทำให้รถยนต์มีความเร็วที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน และนี่คือภาพของการทำงานอย่างเข้าใจแบบไม่ซับซ้อนหรืออย่างง่ายๆครับ

การทำงานของเกียร์ cvt ที่เป็นอย่างต่อเนื่องนั้นนอกจาก ความนุ่มนวลแล้วยังมีในเรื่องของความประหยัดเชื้อเพลิงอีกด้วย แต่ถึงอย่างไรทั้งนี้และทั้งนั้นขึ้นอยู่กับพฤติกรรมด้านการขับขี่ไปพร้อมๆ กันด้วย หากมีการขับกระชากแบบรุนแรงแล้วจะมีการเสียหายที่รวดเร็ว สำหรับเกียร์ cvt ในบางครั้งอาจจะไม่ชินกับผู้ที่ขับรถเร็วเพราะว่าการตอบสนองบวกกับความเร้า ใจของการขับไม่ได้ดังที่ใจต้องการ ไม่เหมือนรถก่อนหน้านี้ที่เคยใช้มา ไม่ว่าจะเป็น ปุ่ม o/d , ปุ่ม ect PWR และอื่นๆ ซึ่งก็อาจเป็นไปได้ เป็นต้น

หลายคนอาจจะคงเคยเห็นลักษณะของเกียร์ประเภทอย่างนี้กันมาบ้าง แล้ว เช่น ในรถกอล์ฟ หากมีการใส่เกียร์เดินหน้าแล้วเหยียบคันเร่งก็จะมีการเพิ่มความเร็วขึ้น เรื่อยๆตามสภาวะของมูเลย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าคล้ายกัน แต่สิ่งที่ไม่เหมือนกันนั้นจะมีส่วนประกอบอื่นมาเป็นปัจจัยในการทำงานที่มาก ขึ้นรวมถึงระบบต่างๆ เช่น ระบบอิเล็กทรอนิค, โครงสร้างของกลไกต่าง เป็นต้น

อาจะมีคำถามว่า...แล้วเกียร์อัตโนมัติประเภทไหนจะใช้งานได้ดีที่สุด อัน นี้คงตอบยากเพราะผู้ผลิตรถยนต์คงคำนวณเป็นอย่างดีแล้วว่าเหมาะสมที่จะบรรจุ อยู่ในรถยนต์รุ่นใดอย่างไร คงเป็นไปไม่ได้ที่ผู้ใช้รถยนต์จะเป็นผู้กำหนดระบบส่งกำลังเอง ดังนั้น หากรถยนต์ของท่านผู้อ่านมีระบบส่งกำลังแบบใด เกียร์ประเภทอย่างไร ถ้าเป็นไปได้ควรทำความเข้าใจกับระบบเกียร์ที่ท่านใช้อยู่ย่อมเกิดประโยชน์ แก่ท่านผู้อ่านครับ

ประหยัดง่ายๆกับไฮบริด


เรื่องราวของเครื่องยนต์ไฮบริดที่บอกว่าประหยัดกว่าน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น ได้พิสูจน์แล้วว่ามีความประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงหรือมีการบริโภคน้ำมันเชื้อ เพลิงน้อยลงจริงๆ เปรียบเทียบกับรถยนต์ที่มีปริมาตรความจุกระบอกสูบที่น้อยกว่าก็ตาม และในการนี้เพื่อให้รถยนต์ ไฮบริดมีความประหยัดอย่างสูงสุด ถ้าเป็นไปได้โดยให้ผู้ขับขี่ ปฏิบัติตามขั้นตอนตามที่จะกล่าวถึงดังต่อไปนี้

*เมื่อต้องการออกตัว*
1. ให้เหยียบเบรก
2. เข้าเกียร์D
3. ปลด parleing Brake
4. เหยียบคันเร่งเบาๆ

ให้สังเกต บนมาตรวัดหน้าจอจะแสดงการออกตัวด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ถ้ากำลังไฟในแบตเตอรี่ไฮบริดไม่เพียงพอ เครื่องยนต์จะทำงานโดยอัตโนมัติ เพื่อทำการชาร์จไฟกลับเข้าไปไว้ที่แบตเตอร์ไฮบริด

*เมื่อต้องการเร่งความเร็ว*
ให้สังเกตหน้าจอแสดงผลบนมาตรวัด จะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งจะได้กำลังเสริมจากแบตเตอร์ไฮบริดโดยตรงในขณะเร่งความเร็ว จะเห็นได้ว่าหัวลูกศรทั้ง2อย่าง จะส่งไปยังล้อขับเคลื่อน หากมีเสียงดังเกิดขึ้นบ้างถือว่าเป็นเสียงปกติของมอเตอร์ทำงาน

*เมื่อต้องการขับแบบประหยัด*
ให้สังเกตมาตรวัด ทางซ้ายมือของหน้าจอ เข็มมาตรวัดหากชี้อยู่ทางด้านล่างในหมายความว่า ขับขี่อย่างประหยัดสูงสุด เพราะเป็นการขับเคลื่อนโดยระบบไฟฟ้า(E MODE) จะไม่มีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแต่อย่างใด หากว่า เข็มบนมาตรวัด ชี้อยู่ที่ตัวเลข20 นั่นหมายความว่า มีอัตราการสิ้นเปลืองของน้ำมันอยู่ที่ 20 กิโลเมตรต่อลิตร อันนี้ถือว่าเป็นการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงเช่นกัน แต่ถ้าหากว่าเข็มบนมาตรวัดชี้ขึ้นทางด้านบนเกินตำแหน่ง10 หรือเลยแถบสีเขียวอันนี้ถือว่าใช้น้ำมันเชื้อเพลิงพอสมควรหรือค่อนข้างมาก นั่นเองครับ นอกจากนั้นเพื่อให้มีความประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างสมบูรณ์ผู้ขับขี่จะ ต้องมีการขับขี่ตามที่จะกล่าวถึงดังนี้

• การเบรก
การชะลอความเร็ว สามารถทำได้โดย การเหยียบเบรกหรือการใช้เกียร์B ขณะขับ
- ไม่ควรขับประชิดรถคันหน้าจนเกินไป
- ถอนคันเร่ง
- ค่อยๆเหยียบเบรกให้รถชะลอไม่ควรเหยียบเบรกอย่างรวดเร็วและรุนแรง เพราจะทำให้โอกาสในการชาร์จไฟมีน้อย
• ถ้าใช้ระบบเบรกไกล ยังช่วยชาร์จไฟให้มากขึ้น เรื่องยนต์จะทำงานน้อยลง
- ตำแหน่งเกียร์ B ความเร็วของรถจะลดลง ด้วยแรงหน่วงจากมอเตอร์ไฟฟ้า การชาร์จไฟจึงเป็นการเปลี่ยนกำลังที่สูญเปล่าเป็นไฟฟ้า เพื่อเก็บในแบตเตอรี่ไฮบริดเพื่อการขับครั้งต่อไป และการชาร์จไฟกลับนั้นไม่ว่าจะเป็นการถอนคันเร่งแล้วให้รถไหล, ชะลอความเร็วหรือเหยียบเบรก, หรือจังหวะนั้นกำลังไฟ แบตเตอร์ไฮบริดนิ่ง เครื่องยนต์ก็จะติดเพื่อชาร์จไฟ
• การหยุดรถ
การหยุดรถเพียงเวลาสั้นๆ สามารถหยุดด้วยเกียร์ N ได้ แต่หากกำลังไฟในแบตเตอรี่ไฮบริดวิ่งกว่าระดับจะมีข้อความเตือนให้ผู้ขับขี่ เข้าเกียร์ P แต่เพื่อให้รถยนต์ไฮบริดมีความประหยัดเมื่อมีการจอดรถให้เข้าเกียร์ P ทุกครั้ง เพื่อให้ระบบมีการชาร์จไฟในกรณีหยุดรถนานๆเช่น รถติดไฟแดง, ติดขบวนรถไฟ, จอดรถภารกิจต่างๆ เป็นต้น และที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นวิธีการใช้รถยนต์ไฮบริดอย่างคุ้มค่าและถูกต้อง ก็เพื่อความประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างสูงสุดนั่นเองครับ นอกจากนั้น รถยนต์ไฮบริดของโตโยต้า ยังเลือกใช้น้ำมันเชื้อเพลิงได้หลายประเภทไม่ว่าจะเป็น แก๊สโซฮอล์ E10 91 และ E10 95 และอ๊อกเทน 91 ขึ้นไปได้อีกด้วย

ดังนั้น หากผู้ขับขี่รถยนต์ไฮบริด สามารถกระทำได้ตามที่กล่าวมา จะพบว่า อัตราการกินน้ำมันเชื้อเพลิงจะประหยัดถึงได้ถึง57% สำหรับการใช้งานในเมือง ความเร็วน้อยกว่า 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมงและ24% สำหรับวิ่งทางไกลนอกเมือง ความเร็ว 80-120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และนี้คือสุดยอดนวัตกรรมจากโตโยต้า

การดูแลรักษาเครื่องยนต์

เครื่องยนต์
ทุกๆ ระยะทางหรือเวลา
ตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่น ทุกครั้งที่เข้าปั๊มเติมน้ำมันเชื้อเพลิง หรือสับดาห์ละครั้ง
เปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่น 3,000 - 5,000 กิโลเมตร (1 ปี)
เปลี่ยนกรองน้ำมันหล่อลื่น ทุกครั้งที่เปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่น
ตรวจสอบระยะช่องว่างของวาล์ว ถ้าไม่เหมาะสม ก็ตั้งวาล์วใหม่ 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
ระบบจุดระเบิด

ตั้งระยะหน้าทองขาว และเขี้ยวหัวเทียน 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน)
เปลี่ยนชุดทองขาว และคอนเดนเซอร์ 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
เปลี่ยนหัวเทียน 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
ตรวจสอบสายหัวเทียน 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
เปลี่ยนสายหัวเทียน 60,000 กิโลเมตร (3 ปี)
ตรวจสอบฝาครอบจานจ่าย และหัวนักกระจอก (หัวโรเตอร์) 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
ปรับไทม์มิ่งจุดระเบิด ทุกครั้งที่ตั้งระยะหน้าทองขาว
แบตเตอรี่

ตรวจสอบระดับของเหลวในแบตเตอรี่ ทุกสัปดาห์
ทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่ 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน)
ระบบหล่อเย็น

ตรวจสอบระดับน้ำหล่อเย็น ทุกสัปดาห์
ตรวจสอบสภาพท่อน้ำหล่อเย็น 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน)
ตรวจสอบฝาหม้อน้ำ 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน)
ตรวจสอบสายพาน และปรับความตึง 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน)
เปลี่ยนสายพาน 40,000 กิโลเมตร (2 ปี)
เปลี่ยนน้ำหล่อเย็น 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
ล้างหม้อน้ำ 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
ระบบเชื้อเพลิง

ทำความสะอาดกรองอากาศ

5,000 กิโลเมตร (3 เดือน)

เปลี่ยนกรองอากาศ 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
เปลี่ยนกรองน้ำมันเชื้อเพลิง 40,000 กิโลเมตร (2 ปี)
ล้าง และทำความสะอาดคาร์บูเรเตอร์ 40,000 กิโลเมตร (2 ปี)
ตรวจสอบวาล์ว พีซีวี 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
เครื่องปรับอากาศ

ทำความสะอาดคอยล์ร้อน 5,000 กิโลมตร (3 เดือน)
ตรวจสอบรอยรั่วที่ข้อต่อ 5,000 กิโลมตร (3 เดือน)
ตรวจสอบปริมาณน้ำยาทำความเย็น 5,000 กิโลมตร (3 เดือน)
ตรวจสอบ และปรับสายพานแอร์ 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน)
เปลี่ยนสายพานแอร์ 40,000 กิโลเมตร (2 ปี)
เปิดเครื่องปรับอากาศ ให้ทำงาน 3-4 นาที สัปดาห์ละครั้ง ถึงแม้จะเป็นฤดูหนาว
ระบบถ่ายทอดกำลัง

เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ 30,000 กิโลเมตร (1 1/2 ปี)
เปลี่ยนน้ำมันเฟืองท้าย 20,000 กิโลเมตร (2 ปี)
อัดจาระบี ลูกปืน เพลากลาง 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน)
เปลี่ยนจาระบีลูกปืนล้อ 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
ตรวจสอบ ระยะฟรีของแป้นคลัตช์ 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน)
ตรวจสอบน้ำมันคลัตช์ (ถ้าเป็นระบบไฮดรอลิก) 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน)
ตรวจสอบระดับ น้ำมันเกียร์อัตโนมัติ 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน)
เปลี่ยนน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ 40,000 กิโลเมตร (2 ปี)
ระบบเบรค

ตรวจสอบระดับน้ำมันเบรค 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน)
ตรวจสอบสภาพเบรค 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน)
ปรับเบรคมือ ตามความจำเป็น
ระบบบังคับเลี้ยวเพาเวอร์

ตรวจสอบระดับน้ำมันในปั้ม 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน)
ตรวจสอบความตึงของสายพานขับปั้ม 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน)
เปลี่ยนสายพานขับปั้ม 40,000 กิโลเมตร (2 ปี)
ยาง

ตรวจสภาพการสึกของยาง 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน)
สับเปลี่ยนตำแหน่งของยาง 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน)
ตรวจสอบความดันลมในยาง 2 สัปดาห์
ตรวจความลึกของดอกยาง 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน)
ทำความสะอาดยาง ตามความจำเป็น
อุปกรณ์ปัดน้ำฝน

ตรวตสอบใบปัดน้ำฝน 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน)
เปลี่ยนใบปัดน้ำฝน 40,000 กิโลเมตร (2 ปี)
ตรวจสอบการทำงานของหัวฉีด 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน)
หล่อลื่นข้อต่อต่างๆ 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน)