วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2555

เกร็ดความรู้เรื่อง ระบบไฟที่สงสัยกัน

เป็นปัญหาเหมือนกันนะครับว่า สงสัยจริงว่าใส่แบต 2 ลูกจะช่วยให้ไฟเพียงพอจริงหรือ (ใช้วิทช์,ลงเครื่องเสียงตึบๆ)...ลองอ่านแล้ววิเคราะห์ตามดูนะครับ....บท ความนี้ก็คัดลอกต่อกันมาเห็นว่ามีประโยชน์ (ต้องขออภัยเจ้าของบทความนะครับ แบบว่าcopy มา save เก็บไว้อ่านเป็น knowledge เอาไว้นานแล้ว...)
โดยปกติอุปกรณ์จำเป็นมาตรฐานที่ติดตั้งมากับรถยนต์นั้น มีอัตราการกินกระแสที่เป็นสัดส่วน

ดังต่อไปนี้ (เป็นอัตราเฉลี่ยในรถขนาดแตกต่างกัน ถ้ารถขนาดใหญ่ก็อาจกินกระแสมากกว่ารถ
ขนาดเล็ก)
- ไฟหน้าใหญ่ 15-20 A
- ไฟป้อนเข้าระบบจุดระเบิดเครื่องยนต์ 10 A
- ไฟสำหรับที่ปัดน้ำฝน 15-20 A
- ไฟดวงต่างๆ 1 A ต่อหลอด
- ไฟสำหรับระบบปรับอากาศ 25-35 A
ถ้าเราเป็นนักสังเกตบ้างเล็กน้อยเมื่อถอยรถออกจากโชว์รูม จะเห็นได้ว่าแบตเตอรี่ที่ติดตั้งมา
กับรถนั้น มีขนาดแค่พอเหมาะประมาณ 35-45 แอมแปร์ นั่นก็เพราะเขาคิดมาตรฐานเอาจากค่า
การใช้กระแสมาตรฐานจากไฟหน้า, ไฟระบบเครื่องยนต์ และไฟอื่นๆ โดยบางครั้งยังไม่นับรวมถึง
ไฟที่ใช้สำหรับระบบปรับอากาศด้วยซ้ำไป
เวลาใช้รถตอนกลางคืนที่ฝนตกหนักๆ แค่เปิดไฟหน้าและที่ปรับน้ำฝนพร้อมกับระบบปรับ
อากาศ จะสังเกตเห็นไฟหรี่ภายในรถมีอาการวูบวาบแล้ว บางท่านที่พอรู้เรื่องรู้ราวบ้างก็จัดการ
เปลี่ยนแบตเตอรี่ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 50-65 แอมแปร์ อาการดังกล่าวก็ไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป
การเปลี่ยนแบตเตอรี่นั้นอาจถูกต้องในบางเรื่องแต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะจะต้องคำนึงถึง
‘ไดชาร์จ’ หรืออัลเตอเนเตอร์ด้วย ถ้าไดชาร์จมีขนาดแรงดันกระแสขาออกแค่เพียง 35 A
โดยทางทฤษฎีมันจะมีความเหมาะสมเพื่อใช้กับแบตเตอรี่ขนาด 35 A เท่านั้น ถ้าใช้แบตเตอรี่
เพิ่ม เป็นขนาด 50 A ไดชาร์จจะต้องทำอย่างหนักเพื่อพยายามเติมไฟให้เต็มแบตเตอรี่ 50 A โดยไม่มีการเรียกใช้ไฟจากระบบไฟรถยนต์เลยถ้ายังต้องเปิดไฟหน้า หรือเปิดเครื่อง
ปรับอากาศในระหว่างที่ไดชาร์จกำลังเติมไฟให้แบตเตอรี่ กระแสไฟที่แบตเตอรี่ก็จะไม่มี
วัน เต็มได้เลยถ้าคิดอัตราเฉลี่ยในการเติมไฟแบตเตอรี่ของไดชาร์จโดยไม่มีการโหลด จากระบบไฟรถยนต์ ไดชาร์จขนาด 35 A จะเติมไฟให้เต็มแบตเตอรี่ขนาด 50 A ได้ในเวลาเกือบๆ
2 ชั่วโมง
ซึ่งแน่นอนว่าขณะที่ทำการปั่นไดชาร์จ ด้วยเครื่องยนต์เพื่อเติมไฟให้เต็มแบตเตอรี่ระบบเครื่องยนต์ก็จะกินไฟ 10 A อยู่ตลอดเวลา ระยะเวลาจึงยิ่งนานเข้าไปอีก ยิ่งถ้ามีการเปิดระบบปรับอากาศด้วยก็ยิ่งนานขึ้นอีกในปัจจุบันเทคโนโลยีด้าน ระบบเสียงรถยนต์มีความเจริญก้าวหน้าอย่างมากจากกำลังขยายเพียงแค่ไม่กี่ วัตต์ในสมัยก่อน กลายมาเป็นกำลังขยายในระดับพัน-สองพันวัตต์ในปัจจุบัน สิ่งหนึ่งที่ผู้คนทั้งหลายต่างมองข้ามกันไปก็คงเป็นเรื่องของ ‘กำลังไฟ’ ที่จะป้อนจ่ายให้กับอุปกรณ์ระบบเสียงหลายท่านไม่ทราบว่าจะต้องคำนวณการกิน กระแสของระบบได้อย่างไร

การเพิ่มขนาดของแบตเตอรี่เพียงอย่างเดียวอาจไม่ใช้ทางแก้ปัญหา การเรียกกำลังไฟจากรถยนต์ที่ถูกต้องโดยปกติเราต้องใช้ไดชาร์จที่มีขนาดกระแสขาออกได้มากกว่าความต้องการของ
กระแสรวมประมาณ 20% และ 40-50% ถ้าค่ากระแสขาออกนั้นบอกมาในหน่วย Cold152
1. สายไฟแรงดันที่ขั้วบวก หรือขั้วลบที่ลงกราวน์ อาจมีขนาดเล็กเกินไปเมื่อ
เทียบกับจำนวนของกระแสที่ไหลผ่าน
2. เกิดอิมพีแดนซ์อย่างรุนแรงในจุดต่อยึดบางจุดของสายไฟแรงดัน/หรือขั้วกราวน์ อาทิ ขั้วแบตเตอรี่เสื่อม, มีการต่อสายไฟแรงดันอย่างหลวมๆ ไม่บัดกรี, ขันหัว
ขั้วแบตเตอรี่ไม่แน่น, ยึดหัวขั้วไฟกราวน์ไม่แน่น, ไม่ขูดสีตัวถังให้สะอาด หรือกราวน์ไม่
สมบูรณ์
3. ขนาดของแบตเตอรี่ไม่เพียงพอที่จะจ่ายกระแสไฟให้กับระบบเสียง หรือมีความจะของกระแสที่แบตเตอรี่น้อยเกินไป
4. แบตเตอรี่มีการคายประจุที่เร็วมาก (ผิดปกติ) หรือไม่ก็แผ่นแซลในแบตเตอรี่เกิดความเสียหาย (เปลี่ยนใหม่)แล้วเช็คด้วย VOM อีกครั้ง
5. แบตเตอรี่มีขนาดพอเพียงกับการจ่ายกระแส แต่ว่าตัว ‘ไดชาร์จ’ ให้ขนาดกระแสขาออกน้อยเกินไป หรือไม่สามารถจ่ายกระแสได้มาพอต่อการประจุแบตเตอรี่ให้เต็มได้ กรณีแบบนี้ค่าแรงดันที่วัดได้จากแบตเตอรี่จะต่ำกว่า 12 โวลท์ เมื่อทำการตรวจวัดในขณะดับเครื่องยนต์

จึงอาจต้องระวังเรื่องนี้ในการสับเปลี่ยนไดชาร์จ นอกจากนั้นยังพบว่าไดชาร์จและ
การประจุกำลังไฟของรถยนต์มีความแตกต่างกันในรถแต่ละคัน บางระบบสามารถจ่าย
กระแสออกมาได้เต็มที่เมื่อเครื่องยนต์ทำงานขณะที่บางระบบจะจ่ายกระแสก็ต่อเมื่อ
เครื่อง ยนต์มีรอบปั่นสูงๆ ซึ่งความแตกต่างนี้ก็เป็นอีกเรื่องที่พึงระวังโดยหลักการแล้วไดชาร์จถูกคิด ค้นและสร้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ
1. เพื่อผลิตและแจกจ่ายกระแสไฟให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าในรถยนต์ เมื่อเครื่องยนต์
เริ่มทำงาน
2. เพื่อจ่ายกระแสไฟไปกักเก็บเอาไว้ที่แบตเตอรี่ เพื่อนำก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น