"ทาทา"เปิดศึกลุยตลาดปิกอัพ ส่ง "ซีนอน" รถยกสูงลงชิงแชร์ เคาะราคาช่วงแนะนำแค่5.19 แสนบาท ชูความแข็งแกร่งและทนทาน เผยใช้เหล็กหนาที่สุดในตลาดเตรียมใช้ชิ้นส่วนในประเทศเพิ่ม หวังให้ลูกค้าหาซื้ออะไหล่ได้ง่าย
นายราทัน ทาทา ประธานบริษัท ทาทา มอเตอร์ประเทศอินเดีย เปิดเผยว่า บริษัท ทาทา มอเตอร์ส (ประเทศไทย)ซึ่งเป็นบริษัทลูกในเมืองไทย ได้เปิดตัวรถซีนอนปิกอัพฉีกกฎในประเทศอย่างเป็นทางการโดยเตรียมความพร้อมในด้านบริการหลังการขายด้วยการเปิดเครือข่ายผู้จำหน่ายของทาทากว่า 20 แห่งทั่วประเทศและกำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
สำหรับรถยนต์รุ่นนี้ได้รับการพัฒนาและประกอบขึ้นในประเทศไทยโดยคำนึงความต้องการของผู้บริโภคชาวไทยเป็นหลักซึ่งบริษัทหวังเป็นอย่างยิ่งว่าประเทศไทยและประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเป็นตลาดหลักของทาทาในอนาคตอันใกล้
ทาทา ซีนอนได้รับการออกแบบจากประเทศอังกฤษ และใช้เทคโนโลยีจากประเทศเยอรมนีซึ่งนับเป็นเทคโนโลยีที่ ทันสมัยที่สุดของโลก วางเครื่องยนต์ DICORเทคโนโลยีดีเซลคอมมอนเรลไดเร็กต์อินเจ็กชั่นรุ่นล่าสุด ขนาด 2.2 ลิตรพร้อมเทอร์โบแปรผันอัจฉริยะ VTT (variable turbine technology) และอินเตอร์คูลเลอร์ ที่รับประกันความทนทาน บำรุงรักษาง่าย ราคาอะไหล่ต่ำเทคโนโลยี DICOR นี้นับเป็นเทคโนโลยีล่าสุดของระบบคอมมอนเรลทำให้เครื่องยนต์แรงเต็มพลัง และยังประหยัดน้ำมันสูงสุด
นอกจากนี้ซีนอนยังได้รับการออกแบบให้เป็นปิกอัพยกสูงตั้งแต่แรกเริ่มพร้อมโครงสร้างตัวถังที่แข็งแกร่งทนทาน ด้วยแผ่นเหล็กหนาถึง 0.8-1.5 ม.ม.หนากว่ารถปิกอัพทั่วไป สามารถใช้งานได้อย่างสมบุกสมบันและยังให้ความปลอดภัยสูงกว่า หากเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
ทั้งนี้ก่อนจะเข้ามาลงทุนดำเนินธุรกิจในประเทศไทยทาทาได้ศึกษาวิจัยและสำรวจตลาดทั้งภูมิภาคอาเซียนก่อนจะตัดสินใจเลือกลงทุนในประเทศไทย ด้วยเม็ดเงิน 1.3 พันล้านบาทเพื่อขึ้นไลน์ประกอบรถปิกอัพซีนอน เนื่องจากเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลกว่าประเทศไทยคือผู้ผลิตรถปิกอัพขนาด 1 ตันที่ดีที่สุดในโลกเมื่อรวมเข้ากับความแข็งแกร่งของผู้ผลิตชิ้นส่วนที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตอันทันสมัยและมีคุณภาพดีจึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทาทาตัดสินใจลงทุน
นอกจากนั้นยังมีแผนในการเพิ่มปริมาณชิ้นส่วนที่ผลิตภายในประเทศให้มากที่สุดซึ่งในระยะแรกนี้ทาทาใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศประมาณ 50% ลูกค้าจึงอุ่นใจได้ว่า อะไหล่ของทาทา ซีนอน จะมีราคาไม่แพง และหาซื้อได้ง่าย
"ทาทา ซีนอนใช้โรงงานธนบุรีประกอบรถยนต์เป็นฐานในการผลิตซึ่งถือว่ามีประสบการณ์ที่ยาวนาน และชื่อเสียงของโรงงานแห่งนี้ในเรื่องความประณีตในการประกอบรถยนต์ถือเป็นจุดแข็งที่จะช่วยให้ลูกค้ามั่นใจได้ในคุณภาพของสินค้า"
ทาทา ซีนอน มีตัวถังให้เลือก 2รูปแบบ คือ เอ็กซ์เทนด์แค็บ ราคาเริ่มต้น 539,000 บาท และดับเบิลแค็บปิกอัพ 4 ประตู ราคาเริ่มต้น 629,000 บาท นอกจากนั้นบริษัทยังได้ทำราคาพิเศษในช่วงแนะนำถึงวันที่ 30 เมษายนโดยเอ็กซ์เทนด์แค็บ ราคาเริ่มต้นที่ 519,000 บาท และดับเบิลแค็บ ปิกอัพ 4ประตู ราคาเริ่มต้น 599,000 บาท
อนึ่ง ทาทา มอเตอร์ส (ประเทศไทย)เป็นหนึ่งในบริษัทในเครือของทาทา มอเตอร์ส ประเทศอินเดียซึ่งเป็นผู้นำอันดับหนึ่งของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศอินเดีย ในปี2549-2550 มีรายรับถึง 7.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 2.4 แสนล้านบาทปัจจุบันมีรถทาทากว่า 4 ล้านคันวิ่งอยู่บนถนนในอินเดียโดยเป็นผู้นำในตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ และเป็นอันดับ 2 ในตลาดรถยนต์นั่งส่วนในตลาดโลก ทาทาครองอันดับ 5 ในตลาดรถบรรทุกขนาดกลางและขนาดใหญ่เป็นผู้ผลิตรถโดยสารขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก สินค้ารถยนต์ รถบรรทุกและรถโดยสาร
วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ทาทา ซีนอน ซูเปอร์ ซีเอ็นจี มีอะไรบ้าง
ทาทา ซีนอน ซูเปอร์ ซีเอ็นจี เป็นรถปิคอัพรุ่นแรกในประเทศไทยที่ติดตั้งระบบเครื่องยนต์ซีเอ็นจี 100% มาจากโรงงาน ผลิตในจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งดำเนินการโดยพันธมิตรของทาทา คือ บริษัท ธนบุรีประกอบรถยนต์ จำกัด โดย ทาทา วางแผนที่จะผลิตรถรุ่นซีนอนเครื่องยนต์ซีเอ็นจีมาตั้งแต่เริ่มโครงการ ผลิตรถรุ่นดังกล่าว ด้วยความมุ่งมั่นที่จะนำเสนอยานยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมอบความประหยัดคุ้มค่าแก่ผู้ใช้รถ
ทาทา ซีนอน ซูเปอร์ ซีเอ็นจี ได้รับการออกแบบให้เป็นรถกระบะเครื่องยนต์ซีเอ็นจีแท้ ไม่มีการดัดแปลง และได้รับการประกอบที่โรงงานของธนบุรีประกอบรถยนต์จนเสร็จสมบูรณ์ทุกขั้นตอน ผู้ขับขี่จึงวางใจได้ในสมรรถนะที่ยอดเยี่ยม ทนทาน ประหยัดน้ำมันและค่าซ่อมบำรุง
ปิคอัพฉีกกฎ”ซีนอน ซูเปอร์ ซีเอ็นจี” เครื่องยนต์ 2.1 ลิตร DOHC หัวฉีดมัลติพอยต์ แรงม้าสูงสุด 115 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 175 นิวตันเมตร ที่รอบต่ำเพียง 3,750 รอบ/นาที โดดเด่นด้วย ระบบเครื่องยนต์ซีเอ็นจี แท้ทั้งระบบ ใช้วัสดุอุปกรณ์ชั้นนำคุณภาพสูงสุด ที่ผ่านการทดสอบและคัดเลือกมาเพื่อระบบเครื่องยนต์ ซีเอ็นจีโดยเฉพาะอาทิ ระบบท่อก๊าซใช้ของ Sandvik เยอรมัน และ Swagelok สหรัฐอเมริกา วาล์วนิรภัยของ OMB อิตาลี ช่วยป้องกันอุบัติเหตุจากการรั่วซึม แรงดัน และอุณหภูมิ ส่วนระบบประมวลผลอัจฉริยะคำนวณการผสมผสานก๊าซ อากาศ สภาพการขับขี่ ใช้ของ Bosch
เยอรมันี และเซ็นเซอร์ของ Valeo ฝรั่งเศส เป็นต้น
การปรับกำลังอัดภายในเครื่องยนต์ให้เหมาะสมกับเชื้อเพลิง CNG เพื่อการเผาไหม้ที่สมบูรณ์สูงสุด เครื่องยนต์จึงทำงานอย่างราบเรียบ และยิ่งไปกว่านั้น เครื่องยนต์ยังถูกออกแบบให้เหมาะกับการใช้งานที่สมบุกสมบัน ทนทานในทุกสภาพการใช้งาน ประหยัดเชื้อเพลิงสูงสุด และบำรุงรักษาง่าย
จุดเด่นอื่นๆ ของทาทา ซีนอน ซูเปอร์ ซีเอ็นจี อาทิ
• ผ่านการทดสอบอย่างหนักหน่วง ทุกสภาพการใช้งานจริง บนทุกสภาพถนนของไทย
• ผ่านการทดสอบการใช้เชื้อเพลิงซีเอ็นจี ที่มาจากแหล่งต่างๆ ของประเทศไทย จากนั้นจึงได้นำข้อมูลมาปรับแต่งการทำงานของเครื่องยนต์ให้เหมาะสมลงตัว กับแหล่งก๊าซในประเทศไทยให้มากที่
สุด เพื่อตอบสนองการใช้งานในชีวิตประจำวันได้อย่างลงตัวกับทุกความต้องการของลูกค้า ที่ต้องการรถปิคอัพที่สร้างเสริมรายได้ในยุคเศรษฐกิจปัจจุบัน
• จัดวางถังซีเอ็นจี ไว้บนโครงสร้างตัวถัง ใต้พื้นกระบะ ให้ความปลอดภัยสูงสุด ซึ่งทำให้พื้นที่สำหรับขนส่งสินค้ายังสามารถใช้งานได้เช่นเดียวกับรถปิคอัพทั่วไป ในขณะที่รถที่ถูกนำมาดัดแปลงเพื่อ
ติดตั้งถัง ซีเอ็นจี ภายหลัง จะต้องเสียพื้นที่บรรทุกในกระบะไปพอสมควร
• รับประกัน 3 ปี 100,000 กิโลเมตร
ทาทา ซีนอน ซูเปอร์ ซีเอ็นจี ได้รับการออกแบบให้เป็นรถกระบะเครื่องยนต์ซีเอ็นจีแท้ ไม่มีการดัดแปลง และได้รับการประกอบที่โรงงานของธนบุรีประกอบรถยนต์จนเสร็จสมบูรณ์ทุกขั้นตอน ผู้ขับขี่จึงวางใจได้ในสมรรถนะที่ยอดเยี่ยม ทนทาน ประหยัดน้ำมันและค่าซ่อมบำรุง
ปิคอัพฉีกกฎ”ซีนอน ซูเปอร์ ซีเอ็นจี” เครื่องยนต์ 2.1 ลิตร DOHC หัวฉีดมัลติพอยต์ แรงม้าสูงสุด 115 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 175 นิวตันเมตร ที่รอบต่ำเพียง 3,750 รอบ/นาที โดดเด่นด้วย ระบบเครื่องยนต์ซีเอ็นจี แท้ทั้งระบบ ใช้วัสดุอุปกรณ์ชั้นนำคุณภาพสูงสุด ที่ผ่านการทดสอบและคัดเลือกมาเพื่อระบบเครื่องยนต์ ซีเอ็นจีโดยเฉพาะอาทิ ระบบท่อก๊าซใช้ของ Sandvik เยอรมัน และ Swagelok สหรัฐอเมริกา วาล์วนิรภัยของ OMB อิตาลี ช่วยป้องกันอุบัติเหตุจากการรั่วซึม แรงดัน และอุณหภูมิ ส่วนระบบประมวลผลอัจฉริยะคำนวณการผสมผสานก๊าซ อากาศ สภาพการขับขี่ ใช้ของ Bosch
เยอรมันี และเซ็นเซอร์ของ Valeo ฝรั่งเศส เป็นต้น
การปรับกำลังอัดภายในเครื่องยนต์ให้เหมาะสมกับเชื้อเพลิง CNG เพื่อการเผาไหม้ที่สมบูรณ์สูงสุด เครื่องยนต์จึงทำงานอย่างราบเรียบ และยิ่งไปกว่านั้น เครื่องยนต์ยังถูกออกแบบให้เหมาะกับการใช้งานที่สมบุกสมบัน ทนทานในทุกสภาพการใช้งาน ประหยัดเชื้อเพลิงสูงสุด และบำรุงรักษาง่าย
จุดเด่นอื่นๆ ของทาทา ซีนอน ซูเปอร์ ซีเอ็นจี อาทิ
• ผ่านการทดสอบอย่างหนักหน่วง ทุกสภาพการใช้งานจริง บนทุกสภาพถนนของไทย
• ผ่านการทดสอบการใช้เชื้อเพลิงซีเอ็นจี ที่มาจากแหล่งต่างๆ ของประเทศไทย จากนั้นจึงได้นำข้อมูลมาปรับแต่งการทำงานของเครื่องยนต์ให้เหมาะสมลงตัว กับแหล่งก๊าซในประเทศไทยให้มากที่
สุด เพื่อตอบสนองการใช้งานในชีวิตประจำวันได้อย่างลงตัวกับทุกความต้องการของลูกค้า ที่ต้องการรถปิคอัพที่สร้างเสริมรายได้ในยุคเศรษฐกิจปัจจุบัน
• จัดวางถังซีเอ็นจี ไว้บนโครงสร้างตัวถัง ใต้พื้นกระบะ ให้ความปลอดภัยสูงสุด ซึ่งทำให้พื้นที่สำหรับขนส่งสินค้ายังสามารถใช้งานได้เช่นเดียวกับรถปิคอัพทั่วไป ในขณะที่รถที่ถูกนำมาดัดแปลงเพื่อ
ติดตั้งถัง ซีเอ็นจี ภายหลัง จะต้องเสียพื้นที่บรรทุกในกระบะไปพอสมควร
• รับประกัน 3 ปี 100,000 กิโลเมตร
ทาทา ซีนอน 2.2 ลิตร ดีคอร์ ดีเซล มีอะไรบ้าง
ทาทา ซีนอน รถปิกอัพ 1 ตัน ได้ถูกออกแบบเพื่อใช้ในการบรรทุกและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ ไม่ว่าจะเพื่อการพาณิชย์ ขนส่ง หรือใช้ส่วนตัว ทั้งนี้ด้านเทคโนโลยีที่ออกแบบใช้ในซีนอนนี้ คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดให้กับลูกค้าชาวไทย ด้วยเครื่องยนต์ดีเซล 2200 ซีซี คอมมอนเรล พร้อมยกสูงตั้งแต่เกิด ความปลอดภัย ขับได้สะดวกสบายเพลิดเพลิน ที่มีพื้นฐานความเป็นรถยุโรปออกแบบโดยทีมวิศวกรรม การออกแบบจากเมืองโคเวนตรี้ ประเทศอังกฤษ จากทีมออกแบบชาวเยอรมันและชาวอินเดีย
จุดเด่นที่ซีนอน มีความแตกต่างจากคู่แข่ง
เครื่องยนต์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ECU 32 บิท เครื่องดีเซล VTT DICOR คอมมอนเรล เสริมการทำงานระบบเทอร์โบแปรผันด้วยอินเตอร์คูลเลอร์
ด้วยการใส่เทคโนโลยีล่าสุด ไม่เพียงใช้กล่อง ECU เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์และจุดระเบิดของระบบคอมมอนเรล เครื่องยนต์มีน้ำหนักที่เบากว่า ความทนทานมากกว่า
นับเป็นสุดยอดแห่งเทคโนโลยีของเครื่องยนต์คอมมอนเรลที่สามารถสร้างแรงดันสูงในท่อเชื้อเพลิงร่วมถึง 1600 บาร์ ได้อย่างคงที่ ทำให้ใช้งานได้เต็มพิกัด พร้อมประหยัดน้ำมันเป็นเยี่ยม
ด้วยความเชี่ยวชาญทางด้านระบบคอมพิวเตอร์ ไม่เพียงใช้กล่อง ECU 32 BIT การทำงานของเครื่องยนต์ ควบคุม ตรวจสอบ และสั่งการ แบบ Real Time เพื่อให้ได้การทำงานของเครื่องยนต์เต็มประสิทธิภาพและประหยัดน้ำมัน
สามารถปรับเปลี่ยนองศาใบพัด turbine ที่รับแรงดันจากไอเสียได้อย่างละเอียดแม้เสี้ยวขององศาเพื่อกำลังสูงสุดและการประหยัดน้ำมัน
เครื่องยนต์ดีเซล 2.2 ลิตร ให้กำลังสูงสุดถึง 140 แรงม้าและให้แรงบิดสูงสุดอย่างต่อเนื่องถึง 320 นิวตัน-เมตร
ด้วยประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ที่ให้แรงบิดตอ่เนื่อง ด้วยระดับความเร็วสูงถึงต่ำ
ประหยัดน้ำมันเป็นเยี่ยม
การเกาะถนนเป็นยอด
ด้วยเหล็กหนาถึง 0.8 – 1.5 มม.
ด้วยระบบขับเคลื่อน 2 ล้อ พร้อมยกสูงมาแต่เกิด
ดีไซน์ภายในกว้างและสะดวกสบาย
อุปกรณ์ตกแต่งสไตล์ยุโรปและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่เพียบพร้อม
การผลิตด้วยคุณภาพสูงจากทีมงานของบริษัท ธนบุรีประกอบรถยนต์
รูปแบบใหม่ของห้องโดยสาร ด้วยการจัดวางระบบควบคุมพร้อมที่นั่งกว้างสบาย เข้าออกง่าย
มีระบบ Body Control Module ซึ่งมีแต่ในรถยนต์ระดับหรูยุโรป ที่คอยควบคุมระบบไฟฟ้าทั้งหมดในรถ
กุญแจรีโมท พร้อม ระบบป้องกันการขโมย immobilizer
เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
จุดเด่นที่ซีนอน มีความแตกต่างจากคู่แข่ง
เครื่องยนต์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ECU 32 บิท เครื่องดีเซล VTT DICOR คอมมอนเรล เสริมการทำงานระบบเทอร์โบแปรผันด้วยอินเตอร์คูลเลอร์
ด้วยการใส่เทคโนโลยีล่าสุด ไม่เพียงใช้กล่อง ECU เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์และจุดระเบิดของระบบคอมมอนเรล เครื่องยนต์มีน้ำหนักที่เบากว่า ความทนทานมากกว่า
นับเป็นสุดยอดแห่งเทคโนโลยีของเครื่องยนต์คอมมอนเรลที่สามารถสร้างแรงดันสูงในท่อเชื้อเพลิงร่วมถึง 1600 บาร์ ได้อย่างคงที่ ทำให้ใช้งานได้เต็มพิกัด พร้อมประหยัดน้ำมันเป็นเยี่ยม
ด้วยความเชี่ยวชาญทางด้านระบบคอมพิวเตอร์ ไม่เพียงใช้กล่อง ECU 32 BIT การทำงานของเครื่องยนต์ ควบคุม ตรวจสอบ และสั่งการ แบบ Real Time เพื่อให้ได้การทำงานของเครื่องยนต์เต็มประสิทธิภาพและประหยัดน้ำมัน
สามารถปรับเปลี่ยนองศาใบพัด turbine ที่รับแรงดันจากไอเสียได้อย่างละเอียดแม้เสี้ยวขององศาเพื่อกำลังสูงสุดและการประหยัดน้ำมัน
เครื่องยนต์ดีเซล 2.2 ลิตร ให้กำลังสูงสุดถึง 140 แรงม้าและให้แรงบิดสูงสุดอย่างต่อเนื่องถึง 320 นิวตัน-เมตร
ด้วยประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ที่ให้แรงบิดตอ่เนื่อง ด้วยระดับความเร็วสูงถึงต่ำ
ประหยัดน้ำมันเป็นเยี่ยม
การเกาะถนนเป็นยอด
ด้วยเหล็กหนาถึง 0.8 – 1.5 มม.
ด้วยระบบขับเคลื่อน 2 ล้อ พร้อมยกสูงมาแต่เกิด
ดีไซน์ภายในกว้างและสะดวกสบาย
อุปกรณ์ตกแต่งสไตล์ยุโรปและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่เพียบพร้อม
การผลิตด้วยคุณภาพสูงจากทีมงานของบริษัท ธนบุรีประกอบรถยนต์
รูปแบบใหม่ของห้องโดยสาร ด้วยการจัดวางระบบควบคุมพร้อมที่นั่งกว้างสบาย เข้าออกง่าย
มีระบบ Body Control Module ซึ่งมีแต่ในรถยนต์ระดับหรูยุโรป ที่คอยควบคุมระบบไฟฟ้าทั้งหมดในรถ
กุญแจรีโมท พร้อม ระบบป้องกันการขโมย immobilizer
เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ทาทา มอเตอร์ส มีเครือข่ายกิจการทั่วโลก
ทาทา มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ถือเป็นบริษัทฯ ร่วมทุนระหว่าง บริษัท ธนบุรี ประกอบรถยนต์ จำกัดและ ทาทา มอเตอร์สโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการผลิตรถยนต์ระดับโลก
ทาทา มอเตอร์ส เป็นบริษัทที่มีเครือข่ายกิจการทั่วโลก โดยได้ดำเนินกิจการด้านรถยนต์มากว่า 50 ปี วันนี้บริษัทเป็นผู้ผลิตรถโดยสารที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองของโลก และเป็นผู้ผลิตรถเพื่อการพาณิชย์ขนาดกลาง และใหญ่เป็นอันดับที่สี่ของโลก จวบจนวันนี้รถยนต์ของ Tata กว่า 4 ล้านคันถูกใช้งานอยู่บนท้องถนนในหลายๆ ประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ รถโดยสาร รถบรรทุก หรือรถเพื่อการพาณิชย์ต่างได้รับการยอมรับในภูมิภาคยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง เอเชียอาคเนย์ และออสเตรเลียเป็นต้น
บริษัทได้ก้าวเข้าสู่ความเป็นบริษัทสากลด้วยการรวมกิจการของบริษัท แดวู ในประเทศเกาหลีใต้ จัดตั้งเป็นบริษัทรถเพื่อการพาณิชย์ Tata Daewoo เข้าถือหุ้น 21% ในบริษัท Hispano Carrocera บริษัทที่ผลิตรถโดยสาร และรถโค้ช (bus, coach) ร่วมทุนกับบริษัท Marcopolo ซึ่งมีฐานการผลิตอยู่ที่ประเทศบราซิล เพื่อผลิตตัวถัง รถโดยสาร และรถโค้ช ตลอดจนมีข้อตกลงเพื่อการแลกเปลี่ยนทางด้านเทคโนโลยี และการทำตลาดร่วมกันกับบริษัทรถยุโรปอย่างบริษัท รถยนต์เฟียต
กลุ่มบริษัท ธนบุรีประกอบรถยนต์ เริ่มดำเนินธุรกิจด้านรถยนต์เมื่อปี พ.ศ. 2484 ธนบุรีประกอบรถยนต์หนึ่งในบริษัทผู้ประกอบรถยนต์อิสระรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ปัจจุบันประกอบรถยนต์นั่งโดยสาร เมอร์เซเดส เบนซ์ กลุ่มธนบุรีฯให้บริการธุรกิจยานยนต์อย่างครบวงจร เริ่มด้วยการนำเข้าสินค้ารถยนต์ เป็นผู้จัดจำหน่าย เป็นผู้ขายปลีกซึ่งมีโชว์รูม และศูนย์บริการ ประกอบรถยนต์ชนิดต่างๆ สร้างตัวถัง งานในบริการส่วนรถขนส่งมวลชน หรือ ขสมก. และให้บริการด้านรถยนต์แก่ทางกองทัพ บริษัท ธนบุรีฯ ยังตระหนักในคุณค่าของการรักษาอนุรักษ์ดำรงไว้ซึ่งสถาปัตยกรรมไทย ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอันดีของไทย
และวันนี้ ทาทา มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ได้ดำเนินธุรกิจด้านรถยนต์ในไทยตั้งแต่ต้นปี 2551 ด้วยการแนะนำรถปิกอัพ ทาทาซีนอน 2.2L VTT ดีคอร์ ดีเซลคอมมอนเรล ด้วยขุมพลังเครื่องยนต์และการประหยัดน้ำมันเป็นยอด
หลังจากความสำเร็จของการแนะนำทาทา ซีนอน 2.2L VTT ดีคอร์ ดีเซลคอมมอนเรล ตามมาด้วยการเปิดตัวทาทา ซีนอน ซูเปอร์ ซีเอ็นจี เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 ที่ผ่านมา ทาทา ซีนอน ซูเปอร์ ซีเอ็นจี รถปิกอัพที่ใช้ก๊าซ ซีเอ็นจี 100% ประกอบสำเร็จจากโรงงานเป็นรายแรกของประเทศไทย ด้วยการนำเสนอยานยนต์ที่ใช้พลังงานทดแทนที่มีอยู่ในประเทศไทย และเป็นพลังงานที่ประหยัดคุ้มค่าแก่ผู้ใช้รถ จากผลิตภัณฑ์ ซีนอน ที่ได้มีการกล่าวขานให้ทาทา มอเตอร์ส เป็นผู้นำยานยนต์ ประหยัดพลังงานทางเลือกในประเทศไทย
ทาทา มอเตอร์ส เป็นบริษัทที่มีเครือข่ายกิจการทั่วโลก โดยได้ดำเนินกิจการด้านรถยนต์มากว่า 50 ปี วันนี้บริษัทเป็นผู้ผลิตรถโดยสารที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองของโลก และเป็นผู้ผลิตรถเพื่อการพาณิชย์ขนาดกลาง และใหญ่เป็นอันดับที่สี่ของโลก จวบจนวันนี้รถยนต์ของ Tata กว่า 4 ล้านคันถูกใช้งานอยู่บนท้องถนนในหลายๆ ประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ รถโดยสาร รถบรรทุก หรือรถเพื่อการพาณิชย์ต่างได้รับการยอมรับในภูมิภาคยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง เอเชียอาคเนย์ และออสเตรเลียเป็นต้น
บริษัทได้ก้าวเข้าสู่ความเป็นบริษัทสากลด้วยการรวมกิจการของบริษัท แดวู ในประเทศเกาหลีใต้ จัดตั้งเป็นบริษัทรถเพื่อการพาณิชย์ Tata Daewoo เข้าถือหุ้น 21% ในบริษัท Hispano Carrocera บริษัทที่ผลิตรถโดยสาร และรถโค้ช (bus, coach) ร่วมทุนกับบริษัท Marcopolo ซึ่งมีฐานการผลิตอยู่ที่ประเทศบราซิล เพื่อผลิตตัวถัง รถโดยสาร และรถโค้ช ตลอดจนมีข้อตกลงเพื่อการแลกเปลี่ยนทางด้านเทคโนโลยี และการทำตลาดร่วมกันกับบริษัทรถยุโรปอย่างบริษัท รถยนต์เฟียต
กลุ่มบริษัท ธนบุรีประกอบรถยนต์ เริ่มดำเนินธุรกิจด้านรถยนต์เมื่อปี พ.ศ. 2484 ธนบุรีประกอบรถยนต์หนึ่งในบริษัทผู้ประกอบรถยนต์อิสระรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ปัจจุบันประกอบรถยนต์นั่งโดยสาร เมอร์เซเดส เบนซ์ กลุ่มธนบุรีฯให้บริการธุรกิจยานยนต์อย่างครบวงจร เริ่มด้วยการนำเข้าสินค้ารถยนต์ เป็นผู้จัดจำหน่าย เป็นผู้ขายปลีกซึ่งมีโชว์รูม และศูนย์บริการ ประกอบรถยนต์ชนิดต่างๆ สร้างตัวถัง งานในบริการส่วนรถขนส่งมวลชน หรือ ขสมก. และให้บริการด้านรถยนต์แก่ทางกองทัพ บริษัท ธนบุรีฯ ยังตระหนักในคุณค่าของการรักษาอนุรักษ์ดำรงไว้ซึ่งสถาปัตยกรรมไทย ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอันดีของไทย
และวันนี้ ทาทา มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ได้ดำเนินธุรกิจด้านรถยนต์ในไทยตั้งแต่ต้นปี 2551 ด้วยการแนะนำรถปิกอัพ ทาทาซีนอน 2.2L VTT ดีคอร์ ดีเซลคอมมอนเรล ด้วยขุมพลังเครื่องยนต์และการประหยัดน้ำมันเป็นยอด
หลังจากความสำเร็จของการแนะนำทาทา ซีนอน 2.2L VTT ดีคอร์ ดีเซลคอมมอนเรล ตามมาด้วยการเปิดตัวทาทา ซีนอน ซูเปอร์ ซีเอ็นจี เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 ที่ผ่านมา ทาทา ซีนอน ซูเปอร์ ซีเอ็นจี รถปิกอัพที่ใช้ก๊าซ ซีเอ็นจี 100% ประกอบสำเร็จจากโรงงานเป็นรายแรกของประเทศไทย ด้วยการนำเสนอยานยนต์ที่ใช้พลังงานทดแทนที่มีอยู่ในประเทศไทย และเป็นพลังงานที่ประหยัดคุ้มค่าแก่ผู้ใช้รถ จากผลิตภัณฑ์ ซีนอน ที่ได้มีการกล่าวขานให้ทาทา มอเตอร์ส เป็นผู้นำยานยนต์ ประหยัดพลังงานทางเลือกในประเทศไทย
วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ระบบเชื้อเพลิงร่วม NGV-Diesel ( DDF )
เครื่องมือช่วยประหยัดพลังงาน และเงินของคุณ.ในยุคที่น้ำมันแพงมาก
ด้วย NGV+Diesel (80:20) DDF และระบบควบคุม ECU Control Unit ( เครื่องยนต์ดีเซลเดิม ไม่ต้องเปลี่ยนเครื่อง) ผลงานวิจัยจากนักวิชาการของมหาวิทบาลัยชั้นนำของประเทศ ที่สามารถประหยัด การใช้น้ำมันดีเซลได้มากถึง 75-80 % เพราะใช้ ก๊าซ NGV ถึง 75-80 % แทน น้ำมันส่วนที่หายไป...
เครื่องยนต์ระบบเชื้อเพลิงร่วม ( Diesel Dual Fuel) Diesel NGV ที่ช่วยให้คุณประหยัดเงินในการจ่ายค่าน้ำมันดีเซล ได้ถึง 75-80% เพราะเราได้พิสูจน์มาแล้ว กับการใช้งานในสภาพ ทั้งถนนในเมือง และต่างจังหวัด ระยะทางไกลกว่า 1,000 กิโลเมตร
โดยเราได้ทำการติดตั้งและใช้ในรถยนต์กระบะ ,รถยนต์ MPV ของ TOYOTA รุ่น Tiger,Vigo,FORTUNER และรุ่นเครื่องยนต์ 2L,5L, ISUZU รุ่น D-MAX, MITSUBISHI รุ่น G-WAGON,PAJERO,L200-STRADA ,Ford รุ่น RANGER ,และรุ่นอื่นๆ ที่ยังมิได้ระบุ อยู่ในช่วงการทดสอบและทดสอบ...
โดยรถยนต์ที่วิ่งใช้งานจริง ทั้งในเมืองที่มีการจราจรติดขัด และนอกเมืองที่วิ่งต่อเนื่อง ระยะทาง 100-250 Km. เป็นของ TOYOTA D4D 2.5 รุ่น Tiger CAB วิ่งทดสอบการใช้งานมาแล้ว มากกว่า 30,000 Km. โดยไม่มีผลกระทบต่อระบบการทำงานของเครื่องยนต์ และเมื่อ ก๊าซ NGV หมด ก็สามารถ กดปุ่มเปลี่ยนมาใช้น้ำมันดิเซลอย่างเดียวได้ในทันที....
ข้อมูลเพิ่มเติม จากการจดบันทึกอัตราการใช้เชื้อเพลิง ปกติใช้น้ำมันดีเซลอย่างเดียววิ่งได้ที่ประมาณ 11-13 Km/ลิตร แต่เมื่อใช้ระบบ NGV+Diesel (DDF) นี้แล้ว สามารถวิ่งได้ถึง ประมาณ 40-45 Km/ลิตร โดยก๊าซ NGV ที่ใช้ ถังขนาด 90 กิโล. ปริมาณก๊าซ NGV ในถังที่เติม 14-15 กิโล. (ขึ้นอยู่กับแรงดันของสถานีบริการนั้นๆ) ที่ราคาNGV 8.50 บาท/กิโล จะสามารถวิ่งได้ในเมือง ประมาณ 130-150 Km แต่ที่นอกเมืองสามาวิ่งได้ ประมาณ 175-180 Km. (
เมื่อคำนวณรวมกัน
ราคาน้ำมันดีเซล ณ ราคา 40.00 บาท
ราคาก๊าซ NGV ณ ราคา 8.50 บาท
ประมาณ NGV+Desel ในเมือง ประมาณ 1.9-2.0 บาท/Km.
ประมาณ NGV+Desel นอกเมือง ประมาณ 1.7-1.8 บาท/Km.
ด้วย NGV+Diesel (80:20) DDF และระบบควบคุม ECU Control Unit ( เครื่องยนต์ดีเซลเดิม ไม่ต้องเปลี่ยนเครื่อง) ผลงานวิจัยจากนักวิชาการของมหาวิทบาลัยชั้นนำของประเทศ ที่สามารถประหยัด การใช้น้ำมันดีเซลได้มากถึง 75-80 % เพราะใช้ ก๊าซ NGV ถึง 75-80 % แทน น้ำมันส่วนที่หายไป...
เครื่องยนต์ระบบเชื้อเพลิงร่วม ( Diesel Dual Fuel) Diesel NGV ที่ช่วยให้คุณประหยัดเงินในการจ่ายค่าน้ำมันดีเซล ได้ถึง 75-80% เพราะเราได้พิสูจน์มาแล้ว กับการใช้งานในสภาพ ทั้งถนนในเมือง และต่างจังหวัด ระยะทางไกลกว่า 1,000 กิโลเมตร
โดยเราได้ทำการติดตั้งและใช้ในรถยนต์กระบะ ,รถยนต์ MPV ของ TOYOTA รุ่น Tiger,Vigo,FORTUNER และรุ่นเครื่องยนต์ 2L,5L, ISUZU รุ่น D-MAX, MITSUBISHI รุ่น G-WAGON,PAJERO,L200-STRADA ,Ford รุ่น RANGER ,และรุ่นอื่นๆ ที่ยังมิได้ระบุ อยู่ในช่วงการทดสอบและทดสอบ...
โดยรถยนต์ที่วิ่งใช้งานจริง ทั้งในเมืองที่มีการจราจรติดขัด และนอกเมืองที่วิ่งต่อเนื่อง ระยะทาง 100-250 Km. เป็นของ TOYOTA D4D 2.5 รุ่น Tiger CAB วิ่งทดสอบการใช้งานมาแล้ว มากกว่า 30,000 Km. โดยไม่มีผลกระทบต่อระบบการทำงานของเครื่องยนต์ และเมื่อ ก๊าซ NGV หมด ก็สามารถ กดปุ่มเปลี่ยนมาใช้น้ำมันดิเซลอย่างเดียวได้ในทันที....
ข้อมูลเพิ่มเติม จากการจดบันทึกอัตราการใช้เชื้อเพลิง ปกติใช้น้ำมันดีเซลอย่างเดียววิ่งได้ที่ประมาณ 11-13 Km/ลิตร แต่เมื่อใช้ระบบ NGV+Diesel (DDF) นี้แล้ว สามารถวิ่งได้ถึง ประมาณ 40-45 Km/ลิตร โดยก๊าซ NGV ที่ใช้ ถังขนาด 90 กิโล. ปริมาณก๊าซ NGV ในถังที่เติม 14-15 กิโล. (ขึ้นอยู่กับแรงดันของสถานีบริการนั้นๆ) ที่ราคาNGV 8.50 บาท/กิโล จะสามารถวิ่งได้ในเมือง ประมาณ 130-150 Km แต่ที่นอกเมืองสามาวิ่งได้ ประมาณ 175-180 Km. (
เมื่อคำนวณรวมกัน
ราคาน้ำมันดีเซล ณ ราคา 40.00 บาท
ราคาก๊าซ NGV ณ ราคา 8.50 บาท
ประมาณ NGV+Desel ในเมือง ประมาณ 1.9-2.0 บาท/Km.
ประมาณ NGV+Desel นอกเมือง ประมาณ 1.7-1.8 บาท/Km.
หลักการทำงานของเครื่องยนต์ CNG DIESEL DUEL FUEL (DDF)
1.ส่วนผสมของเชื้อเพลิงใช้น้ำมันดีเซล 35% และ CNG 65% สัดส่วนนี้ R&D บอกว่าเหมาะสมที่สุดครับ ทดสอบจากการวิ่งทดสอบเป็นระยะทาง 100,000กม. ในระยะเวลา 8เดือน
2.ไม่สามารถใช้ CNG วิ่งอย่างเดียวได้
3.สามารถใช้ Diesel วิ่งอย่างเดียวได้
4.ให้แรงบิดและแรงม้าเทียบเท่ากับการใช้น้ำมัน (รถกระบะดัดแปลงปกติจะใช้ก๊าซอย่างเดียว ซึ่งจะสูญเสียแรงม้าไปมาก)
5.ไม่มีการเปลี่ยนแปลงระบบของเครื่องยนต์ดีเซล
ข้อดีของ Colorado CNG หลักๆก็คือ
1.ประหยัดค่าติดตั้ง ถ้าติดตั้งเองต้องใช้เงินประมาณ 500,000บาท เพราะต้องเปลี่ยนระบบเครื่องยนต์ใหม่เกือบหมด ของเราติดอุปกรณ์ DDF เข้าไปเพิ่มเท่านั้น และเมื่อลูกค้าเบื่อระบบนี้ก็สามารถถอดออกได้ง่ายๆ
2.ประหยัดค่าเชื้อเพลิง ต้นทุนเฉลี่ยของการใช้ CNG ร่วม Diesel อยู่ที่ประมาณ 1.2บาท/กม. เทียบกับน้ำมันดีเซลล้วนๆประมาณ 2.46บาท/กม. ประหยัดได้เกือบ 100% (ทดสอบที่การวิ่งนอกเมืองนะครับ และใช้ราคาน้ำมันดีเซลที่ 37บาท/ลิตร คำณวน)
3.ปลอดภัย รับประกัน 3ปีโดยเชฟโรเลต
4.หลากหลาย ใช้เชื้อเพลิงได้ทั้งสองระบบ ก๊าซหมดก็ไม่เป็นไร ใช้ Diesel แทน ไม่ต้องกังวลเมื่อออกนอกกรุงเทพ
จากการคำณวนคร่าวๆ CNG 1ถัง มีรายละเอียดการใช้งานประมาณนี้ครับ
1.การเติมเชื้อเพลิง 1ครับแบ่งเป็นค่าเชื้อเพลิง CNG 11กก. 94บาท + ค่าเชื้อเพลง Diesel 4.9ลิตร 181บาท
2.รวมๆแล้วรอบหนึ่งจะวิ่งได้ประมาณ 215กม.
2.ไม่สามารถใช้ CNG วิ่งอย่างเดียวได้
3.สามารถใช้ Diesel วิ่งอย่างเดียวได้
4.ให้แรงบิดและแรงม้าเทียบเท่ากับการใช้น้ำมัน (รถกระบะดัดแปลงปกติจะใช้ก๊าซอย่างเดียว ซึ่งจะสูญเสียแรงม้าไปมาก)
5.ไม่มีการเปลี่ยนแปลงระบบของเครื่องยนต์ดีเซล
ข้อดีของ Colorado CNG หลักๆก็คือ
1.ประหยัดค่าติดตั้ง ถ้าติดตั้งเองต้องใช้เงินประมาณ 500,000บาท เพราะต้องเปลี่ยนระบบเครื่องยนต์ใหม่เกือบหมด ของเราติดอุปกรณ์ DDF เข้าไปเพิ่มเท่านั้น และเมื่อลูกค้าเบื่อระบบนี้ก็สามารถถอดออกได้ง่ายๆ
2.ประหยัดค่าเชื้อเพลิง ต้นทุนเฉลี่ยของการใช้ CNG ร่วม Diesel อยู่ที่ประมาณ 1.2บาท/กม. เทียบกับน้ำมันดีเซลล้วนๆประมาณ 2.46บาท/กม. ประหยัดได้เกือบ 100% (ทดสอบที่การวิ่งนอกเมืองนะครับ และใช้ราคาน้ำมันดีเซลที่ 37บาท/ลิตร คำณวน)
3.ปลอดภัย รับประกัน 3ปีโดยเชฟโรเลต
4.หลากหลาย ใช้เชื้อเพลิงได้ทั้งสองระบบ ก๊าซหมดก็ไม่เป็นไร ใช้ Diesel แทน ไม่ต้องกังวลเมื่อออกนอกกรุงเทพ
จากการคำณวนคร่าวๆ CNG 1ถัง มีรายละเอียดการใช้งานประมาณนี้ครับ
1.การเติมเชื้อเพลิง 1ครับแบ่งเป็นค่าเชื้อเพลิง CNG 11กก. 94บาท + ค่าเชื้อเพลง Diesel 4.9ลิตร 181บาท
2.รวมๆแล้วรอบหนึ่งจะวิ่งได้ประมาณ 215กม.
วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
VVT-I ในเครื่องยาริส เป็นมาอย่างไร
VVT-I : VARIABLE VALVE TIMING-INTELLIGENCE
หนึ่งในระบบแปรผันการเปิด-ปิดวาล์ว เพื่อให้เกิดกำลังสูงอย่างต่อเนื่องในช่วงกว้าง
และมีการตอบสนองที่ดีในทุกความเร็วรอบของเครื่องยนต์
เครื่องยนต์ 4 จังหวะที่ใช้กันทั่วไป มีการทำงานแบ่งเป็น 4 จังหวะ คือ ดูด-อัด-ระเบิด-คาย
โดยการหายใจเข้าในจังหวะดูด และการหายใจออกในจังหวะคายของเครื่องยนต์จะทำโดยผ่านตัววาล์วไอดีและวาล์วไอเสีย
ซึ่งมีการควบคุมการเปิด-เปิดวาล์วด้วยลูกเบี้ยวบนแคมชาฟต์ (เพลาราวลิ้น)
ที่จะทำหน้าที่กำหนดให้มีช่วงระยะเวลา ความนาน และระยะยกของการเปิดวาล์วตามที่ออกแบบไว้
โดยปกติ รอบการใช้งานของเครื่องยนต์จะเป็นช่วงกว้างหลายพันรอบ
ตั้งแต่รอบเดินเบา(เกือบ 1,000 รอบต่อนาที) สูงขึ้นไปจนถึงจรดแถบแดงแถวๆ 6,000-7,000 รอบต่อนาที
แท้จริงแล้วในแต่ละรอบย่อมต้องการ การหายใจด้วยการเปิดวาล์ว ที่องศาเริ่มเปิด ความนาน และระยะยกไม่เท่ากัน
แต่ในเมื่อต้องใช้ลูกเบี้ยวบนตัวแคมชาฟต์เป็นตัวกด
ในเครื่องยนต์ทั่วไปจึงมีรอบเครื่องยนต์อยู่เพียงช่วงเดียวเป็นช่วงแคบๆ ที่เครื่องยนต์จะทำงานได้ดีที่สุดมีกำลังตอบสนองดีและใช้เชื้อเพลิงได้คุ้มค่าแต่ในช่วงรอบเครื่องยนต์ต่ำกว่าหรือสูงกว่าช่วงนั้น ความสมบูรณ์จะลดลงไป
ในช่วงรอบอื่นๆ ไม่ใช่เครื่องยนต์จะดับหรือทำงานไม่ได้
แต่จะทำได้ไม่ดีเท่ากับช่วงที่วาล์วซึ่งเปิดโดยแคมชาฟต์ที่ทำให้เครื่องยนต์หายใจได้เหมาะสมที่สุดเท่านั้น
ลองนึกเปรียบเทียบง่ายๆ กับคนใน 3 ลักษณะ คือ
1.นั่งเฉยๆ 2.วิ่งเหยาะๆ 3.วิ่งเร็ว
ถ้ามีการหายใจด้วยความถี่หรือความแรงเท่าเดิมตลอด ก็ต้องมีแค่ช่วงหนึ่งเท่านั้น
ที่หายใจพอดีกับการใช้แรงใน 3 ลักษณะนั้น
หากหายใจถี่หรือนาน แต่นั่งอยู่เฉยๆ ก็ไม่พอดี เพราะไม่ได้ออกแรง
แต่ถ้าวิ่งเร็วๆ แล้วหายใจช้าหรือนิดเดียวคล้ายกับตอนที่นั่งเฉยๆ
ก็ไม่มีแรงวิ่งเพราะหายใจไม่ทันได้อากาศไม่พอกับกำลังงานที่ต้องใช้
ในเมื่อคนยังจำเป็นต้องแปรผันการหายใจให้เหมาะกับการออกแรงในขณะนั้น
เครื่องยนต์มี่มีรอบการทำงานตั้งแต่เกือบ 1,000 รอบต่อนาทีไปจนถึงแถวๆ 6,000-7,000 รอบต่อนาที
ถ้าจะให้ได้ความสมบูรณ์ในการหายใจเพื่อให้ได้ผลออกมาที่ดีก็จำเป็นต้องมีการแปรผันการหายใจ
หรือการเปิดวาล์วให้เหมาะสมกับรอบของเครื่องยนต์ในแต่ละช่วงการทำงานด้วย
ในรอบต่ำที่ไม่ต้องมีการผลิตกำลังมาก ก็หายใจแบบหนึ่ง
ในรอบปานกลางหรือเร่งแบบฉับพลันต้องการกำลังมากขึ้น ก็หายใจแบบหนึ่ง
และในรอบจัดก็หายใจอีกแบบหนึ่ง
วิศวกรเครื่องยนต์ทั่วโลกทราบดีว่า ถ้าเป็นเครื่องยนต์ธรรมดา
ก็จำเป็นต้องทำใจเลือกแคมชาฟต์ที่มีลูกเบี้ยวเปิดวาล์วที่เหมาะสมในช่วงรอบใดรอบหนึ่ง เช่น
จะทำเครื่องยนต์รอบจัดหรือรถแข่งก็เลือกแคมชาฟต์แบบหนึ่ง
หากจะทำเครื่องยนต์รอบต่ำใช้งานทั่วไปขับคลานๆ ก็เลือกแคมชาฟต์แบบหนึ่ง
ต้องยอมได้อย่างเสียอย่างๆ หลีกเลี่ยงไม่ได้
ดังนั้นจึงเห็นว่าเครื่องยนต์ทั่วไปจะมีบุคลิกตายตัว คือ
เครื่องยนต์ในรถยนต์ที่ใช้งานทั่วไป ขับรอบต่ำถึงปานกลางจะได้กำลังดี
แต่เมื่อต้องการเน้นสมรรถนะโดยเร่งรอบเครื่องยนต์สูงๆ ก็จะไม่แรงสะใจ
หรือเครื่องยนต์ในรถสปอร์ตพันธ์แท้แรงจัดในรอบสูง แต่พอขับคลานๆ ในรอบต่ำก็ไม่ค่อยมีแรง
เมื่อเร่งรอบเครื่องยนต์ก็มีอาการรอบรอบตอบสนองช้า จนกว่าจะไต่ไปอยู่รอบสูง
และก็ต้องเลี้ยงรอบไว้อย่างนั้น ตกมารอบต่ำเมื่อไรเรี่ยวแรงก็ถดถอย
ตามที่เห็นในกราฟแสดงแรงม้าแรงบิดของเครื่องยนต์ทั่วไป มักจะเป็นเส้นที่มีทรงคล้ายภูเขา คือ
ไต่ขึ้นไปเป็นยอดเขาแล้วมียอดแหลมนิดเดียวก็วูบลงมาอีกด้าน ไม่ใช่ยอดเขาหัวตัดที่มีกำลังสูงในช่วงรอบกว้าง
วิศวกรเครื่องยนต์มีความฝันก็คือ จะทำอย่างไรให้เครื่องยนต์มีกำลังสูงในช่วงรอบกว้างกว่าที่คุ้นเคยกัน
กราฟแรงม้าแรงบิดเป็นภูเขาหัวตัด มีแรงดีในช่วงรอบกว้างๆ
เหมือนมีแคมชาฟต์หลายแท่งสลับกันทำงานในแต่ละรอบเครื่องยนต์ เปลี่ยนแท่งแคมชาฟต์ได้อย่างฉับไว
ความเป็นจริงไม่มีทางเลยที่จะสลับหลายแท่งแคมชาฟต์ในแต่ละรอบเครื่องยนต์ได้
เพราะรอบเครื่องยนต์หมุนเร็วหลายพันรอบต่อนาทีและเปลี่ยนแปลงเร็วมากขึ้นลงหลายพันรอบในช่วงไม่กี่วินาที
คำตอบ คือ ต้องทำให้เครื่องยนต์มีการแปรผันการหายใจ
ดยเฉพาะการหายใจเข้าผ่านวาล์วไอดี ให้เปลี่ยนแปลงในแต่ละรอบเครื่องยนต์ได้
คล้ายคนที่นั่งเฉยๆ ก็หายใจธรรมดา แต่พอวิ่งเหยาะๆ ก็หายใจถี่ขึ้น และเปลี่ยนไปหายใจทั้งถี่ทั้งแรงเมื่อวิ่งเร็วๆ
การแปรผันการเปิดวาล์วมีหนึ่งในวิธีที่สามารถทำได้และเห็นผลชัดเจน
โดยต้องทำที่แคมชาฟต์ ซึ่งเป็นชิ้นส่วนที่ทำหน้าที่ในทางกลไกโดยตรงที่จะสั่งให้วาล์วเปิด-ปิด
โดยมีการคิดค้นหลายวิธีที่จะแปรผันการเปิดวาล์วโดยทำกันที่แคมชาฟต์
1 ในวิธีนั้น คือ การใช้แคมชาฟต์และลูกเบี้ยวเหมือนปกติ
แต่เพิ่มอุปกรณ์พิเศษด้านหน้าของแคมชาฟต์ เพื่อทำหน้าที่เยื้องไปมาแปรผันกับตำแหน่งของข้อเหวี่ยง
ให้แคมชาฟต์เริ่มเปิดวาล์วก่อนหรือล่าช้าไปจากปกติให้เหมาะสมกับรอบสูงรอบต่ำของเครื่องยนต์
เมื่อเปรียบเทียบกับการเปิดวาล์วปกติที่ต้องสัมพันธ์กับตำแหน่งของข้อเหวี่ยง
การเยื้องหรือแปรผันช่วงเวลาด้วยชุดหัวแคมชาฟต์แบบพิเศษนี้จะถูกควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
รับข้อมูลและสถานะต่างๆ ของเครื่องยนต์และรถยนต์มาประมวลผล
แล้วสั่งให้หัวแคมชาฟต์เกิดการเยื้องไปมาอย่างฉับไว
แปรผันอย่างเหมาะสมตามรอบของเครื่องยนต์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาโดยอัตโนมัติ
เช่น ระบบ VVT-i ของโตโยต้าเป็นต้น
ผู้ขับจะไม่ทราบอาการเปลี่ยนแปลงนั้นเลย เพราะรอบเครื่องยนต์ไม่มีกระตุก
การตอบสนองของกำลังเครื่องยนต์ดีเยี่ยมโดยที่ไม่มีอาการกระชาก
ไอเสียสะอาดมลพิษต่ำ แม้จะจ้องมองรอบของเครื่องยนต์บนมาตรวัด ก็จะไม่ทราบถึงการแปรผันการเปิดวาล์วนั้นเลย
ทุกอย่างเป็นไปอย่างนุ่มนวลและทำงานอย่างต่อเนื่องโดยอัตโนมัติ
โดยผู้ขับไม่ต้องกดปุ่มปรับเปลี่ยน ไม่ต้องสั่งงาน เพราะระบบควบคุมจะทำเองทั้งหมด
การแปรผันการเปิด-ปิดวาล์วไอดี ในการหายใจเข้าของเครื่องยนต์
มีความจำเป็นมากกว่าด้านวาล์วไอเสียที่หายใจออก ซึ่งไอเสียจะมีแรงดันไหลออกไปเองเป็นส่วนใหญ่
ระบบนี้จึงมักจะใช้กับชุดวาล์วไอดีเท่านั้น
โดยจะเป็นการแปรผันเฉพาะช่วงเวลาที่จะเริ่มต้นเปิดไล่ไปจนถึงปิด
โดยความนาน(องศา)และระยะยก(ลิฟท์)ของการเปิดวาล์วยังเท่าเดิม
เพราะใช้ลูกเบี้ยวเดิมชุดเดียว แต่มีหัวแคมชาฟต์แบบพิเศษที่เยื้องไปมาได้
ซึ่งก็เหลือเฟือสำหรับการใช้งานทั่วไปแล้ว
นอกจากนั้นโตโยต้า ยังมีระบบที่เหนือชั้นขึ้นไปอีก คือ
ระบบ VVTL-i = VARIABLE VALVE TIMING AND LIFT-INTELLIGENCE
คือ แท่งแคมชาฟต์จะมีลูกเบี้ยวเพิ่มขึ้นและมีระบบกระเดื่องกดวาล์วแบบพิเศษเพิ่มขึ้นมา
คอยสลับชุดลูกเบี้ยวใช้งานในแต่ละรอบ
โดยในช่วงเครื่องยนต์หมุนรอบต่ำถึงปานกลางใช้ลูกเบี้ยวชุดหนึ่ง
พอเข้าสู่ช่วงรอบสูงก็สลับกระเดื่องไปใช้ลูกเบี้ยวอีกชุดหนึ่งในการเปิดวาล์ว
ซึ่งระบบนี้จะใช้ในรถสปอร์ต เช่น เซลิก้า เป็นต้น
เปรียบเทียบกับระบบอื่น
ระบบแปรผันการเปิดวาล์ว แยกได้เป็น 3 แบบหลัก ไล่จากความยุ่งยากและผลที่ได้จากได้ผลดีน้อยไปมาก คือ
1. แปรผันช่วงเวลา แต่ความนานและระยะยกเท่าเดิม
ใช้ลูกเบี้ยวเดิม โดยไปเยื้องกันที่หัวแคมชาฟต์
เช่น VVT-i, VANOS
2. แปรผันทั้งหมด ทั้งช่วงเวลา ความนาน และระยะยก
โดยเปลี่ยนลูกเบี้ยวไปเลย ใช้ระบบกระเดื่องพิเศษคอยสลับลูกเบี้ยว
เช่น VTEC, MIVEC
3. แปรผันทั้งหมดและเยื้องช่วงเวลา โดยนำแบบ 1 ทำงานร่วมกับแบบ 2
คือ เยื้องที่หัวแคมชาฟต์และสลับลูกเบี้ยวด้วยกระเดื่องพิเศษ
เช่น i-VTEC, VVTL-i
ระบบ VVT-i จัดอยู่ในแบบแรก คือ เยื้องที่หัวแคมชาฟต์เท่านั้น ให้ผลดีน้อยที่สุดใน 3 แบบ
แต่ก็มีความยุ่งยากน้อยที่สุด และมีหลายยี่ห้อนิยมใช้ เพราะความง่ายแต่ได้ผลดีพอสมควรนั่นเอง
สรุปง่ายๆ กับการแปรผันการเปิด-ปิดวาล์ว
ก็เหมือนคนที่หายใจได้หลายแบบในแต่ละสภาวะที่แตกต่างกัน
ทำให้เครื่องยนต์ได้ความสมบูรณ์ในการทำงานทุกช่วงนั่นเอง
แต่มีหลายรูปแบบการทำงาน ไม่ใช่เห็นว่าแปรผันได้แล้วจะดีเท่ากันหมด
ต้องดูว่าแปรผันแบบใดแค่ไหน
หนึ่งในระบบแปรผันการเปิด-ปิดวาล์ว เพื่อให้เกิดกำลังสูงอย่างต่อเนื่องในช่วงกว้าง
และมีการตอบสนองที่ดีในทุกความเร็วรอบของเครื่องยนต์
เครื่องยนต์ 4 จังหวะที่ใช้กันทั่วไป มีการทำงานแบ่งเป็น 4 จังหวะ คือ ดูด-อัด-ระเบิด-คาย
โดยการหายใจเข้าในจังหวะดูด และการหายใจออกในจังหวะคายของเครื่องยนต์จะทำโดยผ่านตัววาล์วไอดีและวาล์วไอเสีย
ซึ่งมีการควบคุมการเปิด-เปิดวาล์วด้วยลูกเบี้ยวบนแคมชาฟต์ (เพลาราวลิ้น)
ที่จะทำหน้าที่กำหนดให้มีช่วงระยะเวลา ความนาน และระยะยกของการเปิดวาล์วตามที่ออกแบบไว้
โดยปกติ รอบการใช้งานของเครื่องยนต์จะเป็นช่วงกว้างหลายพันรอบ
ตั้งแต่รอบเดินเบา(เกือบ 1,000 รอบต่อนาที) สูงขึ้นไปจนถึงจรดแถบแดงแถวๆ 6,000-7,000 รอบต่อนาที
แท้จริงแล้วในแต่ละรอบย่อมต้องการ การหายใจด้วยการเปิดวาล์ว ที่องศาเริ่มเปิด ความนาน และระยะยกไม่เท่ากัน
แต่ในเมื่อต้องใช้ลูกเบี้ยวบนตัวแคมชาฟต์เป็นตัวกด
ในเครื่องยนต์ทั่วไปจึงมีรอบเครื่องยนต์อยู่เพียงช่วงเดียวเป็นช่วงแคบๆ ที่เครื่องยนต์จะทำงานได้ดีที่สุดมีกำลังตอบสนองดีและใช้เชื้อเพลิงได้คุ้มค่าแต่ในช่วงรอบเครื่องยนต์ต่ำกว่าหรือสูงกว่าช่วงนั้น ความสมบูรณ์จะลดลงไป
ในช่วงรอบอื่นๆ ไม่ใช่เครื่องยนต์จะดับหรือทำงานไม่ได้
แต่จะทำได้ไม่ดีเท่ากับช่วงที่วาล์วซึ่งเปิดโดยแคมชาฟต์ที่ทำให้เครื่องยนต์หายใจได้เหมาะสมที่สุดเท่านั้น
ลองนึกเปรียบเทียบง่ายๆ กับคนใน 3 ลักษณะ คือ
1.นั่งเฉยๆ 2.วิ่งเหยาะๆ 3.วิ่งเร็ว
ถ้ามีการหายใจด้วยความถี่หรือความแรงเท่าเดิมตลอด ก็ต้องมีแค่ช่วงหนึ่งเท่านั้น
ที่หายใจพอดีกับการใช้แรงใน 3 ลักษณะนั้น
หากหายใจถี่หรือนาน แต่นั่งอยู่เฉยๆ ก็ไม่พอดี เพราะไม่ได้ออกแรง
แต่ถ้าวิ่งเร็วๆ แล้วหายใจช้าหรือนิดเดียวคล้ายกับตอนที่นั่งเฉยๆ
ก็ไม่มีแรงวิ่งเพราะหายใจไม่ทันได้อากาศไม่พอกับกำลังงานที่ต้องใช้
ในเมื่อคนยังจำเป็นต้องแปรผันการหายใจให้เหมาะกับการออกแรงในขณะนั้น
เครื่องยนต์มี่มีรอบการทำงานตั้งแต่เกือบ 1,000 รอบต่อนาทีไปจนถึงแถวๆ 6,000-7,000 รอบต่อนาที
ถ้าจะให้ได้ความสมบูรณ์ในการหายใจเพื่อให้ได้ผลออกมาที่ดีก็จำเป็นต้องมีการแปรผันการหายใจ
หรือการเปิดวาล์วให้เหมาะสมกับรอบของเครื่องยนต์ในแต่ละช่วงการทำงานด้วย
ในรอบต่ำที่ไม่ต้องมีการผลิตกำลังมาก ก็หายใจแบบหนึ่ง
ในรอบปานกลางหรือเร่งแบบฉับพลันต้องการกำลังมากขึ้น ก็หายใจแบบหนึ่ง
และในรอบจัดก็หายใจอีกแบบหนึ่ง
วิศวกรเครื่องยนต์ทั่วโลกทราบดีว่า ถ้าเป็นเครื่องยนต์ธรรมดา
ก็จำเป็นต้องทำใจเลือกแคมชาฟต์ที่มีลูกเบี้ยวเปิดวาล์วที่เหมาะสมในช่วงรอบใดรอบหนึ่ง เช่น
จะทำเครื่องยนต์รอบจัดหรือรถแข่งก็เลือกแคมชาฟต์แบบหนึ่ง
หากจะทำเครื่องยนต์รอบต่ำใช้งานทั่วไปขับคลานๆ ก็เลือกแคมชาฟต์แบบหนึ่ง
ต้องยอมได้อย่างเสียอย่างๆ หลีกเลี่ยงไม่ได้
ดังนั้นจึงเห็นว่าเครื่องยนต์ทั่วไปจะมีบุคลิกตายตัว คือ
เครื่องยนต์ในรถยนต์ที่ใช้งานทั่วไป ขับรอบต่ำถึงปานกลางจะได้กำลังดี
แต่เมื่อต้องการเน้นสมรรถนะโดยเร่งรอบเครื่องยนต์สูงๆ ก็จะไม่แรงสะใจ
หรือเครื่องยนต์ในรถสปอร์ตพันธ์แท้แรงจัดในรอบสูง แต่พอขับคลานๆ ในรอบต่ำก็ไม่ค่อยมีแรง
เมื่อเร่งรอบเครื่องยนต์ก็มีอาการรอบรอบตอบสนองช้า จนกว่าจะไต่ไปอยู่รอบสูง
และก็ต้องเลี้ยงรอบไว้อย่างนั้น ตกมารอบต่ำเมื่อไรเรี่ยวแรงก็ถดถอย
ตามที่เห็นในกราฟแสดงแรงม้าแรงบิดของเครื่องยนต์ทั่วไป มักจะเป็นเส้นที่มีทรงคล้ายภูเขา คือ
ไต่ขึ้นไปเป็นยอดเขาแล้วมียอดแหลมนิดเดียวก็วูบลงมาอีกด้าน ไม่ใช่ยอดเขาหัวตัดที่มีกำลังสูงในช่วงรอบกว้าง
วิศวกรเครื่องยนต์มีความฝันก็คือ จะทำอย่างไรให้เครื่องยนต์มีกำลังสูงในช่วงรอบกว้างกว่าที่คุ้นเคยกัน
กราฟแรงม้าแรงบิดเป็นภูเขาหัวตัด มีแรงดีในช่วงรอบกว้างๆ
เหมือนมีแคมชาฟต์หลายแท่งสลับกันทำงานในแต่ละรอบเครื่องยนต์ เปลี่ยนแท่งแคมชาฟต์ได้อย่างฉับไว
ความเป็นจริงไม่มีทางเลยที่จะสลับหลายแท่งแคมชาฟต์ในแต่ละรอบเครื่องยนต์ได้
เพราะรอบเครื่องยนต์หมุนเร็วหลายพันรอบต่อนาทีและเปลี่ยนแปลงเร็วมากขึ้นลงหลายพันรอบในช่วงไม่กี่วินาที
คำตอบ คือ ต้องทำให้เครื่องยนต์มีการแปรผันการหายใจ
ดยเฉพาะการหายใจเข้าผ่านวาล์วไอดี ให้เปลี่ยนแปลงในแต่ละรอบเครื่องยนต์ได้
คล้ายคนที่นั่งเฉยๆ ก็หายใจธรรมดา แต่พอวิ่งเหยาะๆ ก็หายใจถี่ขึ้น และเปลี่ยนไปหายใจทั้งถี่ทั้งแรงเมื่อวิ่งเร็วๆ
การแปรผันการเปิดวาล์วมีหนึ่งในวิธีที่สามารถทำได้และเห็นผลชัดเจน
โดยต้องทำที่แคมชาฟต์ ซึ่งเป็นชิ้นส่วนที่ทำหน้าที่ในทางกลไกโดยตรงที่จะสั่งให้วาล์วเปิด-ปิด
โดยมีการคิดค้นหลายวิธีที่จะแปรผันการเปิดวาล์วโดยทำกันที่แคมชาฟต์
1 ในวิธีนั้น คือ การใช้แคมชาฟต์และลูกเบี้ยวเหมือนปกติ
แต่เพิ่มอุปกรณ์พิเศษด้านหน้าของแคมชาฟต์ เพื่อทำหน้าที่เยื้องไปมาแปรผันกับตำแหน่งของข้อเหวี่ยง
ให้แคมชาฟต์เริ่มเปิดวาล์วก่อนหรือล่าช้าไปจากปกติให้เหมาะสมกับรอบสูงรอบต่ำของเครื่องยนต์
เมื่อเปรียบเทียบกับการเปิดวาล์วปกติที่ต้องสัมพันธ์กับตำแหน่งของข้อเหวี่ยง
การเยื้องหรือแปรผันช่วงเวลาด้วยชุดหัวแคมชาฟต์แบบพิเศษนี้จะถูกควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
รับข้อมูลและสถานะต่างๆ ของเครื่องยนต์และรถยนต์มาประมวลผล
แล้วสั่งให้หัวแคมชาฟต์เกิดการเยื้องไปมาอย่างฉับไว
แปรผันอย่างเหมาะสมตามรอบของเครื่องยนต์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาโดยอัตโนมัติ
เช่น ระบบ VVT-i ของโตโยต้าเป็นต้น
ผู้ขับจะไม่ทราบอาการเปลี่ยนแปลงนั้นเลย เพราะรอบเครื่องยนต์ไม่มีกระตุก
การตอบสนองของกำลังเครื่องยนต์ดีเยี่ยมโดยที่ไม่มีอาการกระชาก
ไอเสียสะอาดมลพิษต่ำ แม้จะจ้องมองรอบของเครื่องยนต์บนมาตรวัด ก็จะไม่ทราบถึงการแปรผันการเปิดวาล์วนั้นเลย
ทุกอย่างเป็นไปอย่างนุ่มนวลและทำงานอย่างต่อเนื่องโดยอัตโนมัติ
โดยผู้ขับไม่ต้องกดปุ่มปรับเปลี่ยน ไม่ต้องสั่งงาน เพราะระบบควบคุมจะทำเองทั้งหมด
การแปรผันการเปิด-ปิดวาล์วไอดี ในการหายใจเข้าของเครื่องยนต์
มีความจำเป็นมากกว่าด้านวาล์วไอเสียที่หายใจออก ซึ่งไอเสียจะมีแรงดันไหลออกไปเองเป็นส่วนใหญ่
ระบบนี้จึงมักจะใช้กับชุดวาล์วไอดีเท่านั้น
โดยจะเป็นการแปรผันเฉพาะช่วงเวลาที่จะเริ่มต้นเปิดไล่ไปจนถึงปิด
โดยความนาน(องศา)และระยะยก(ลิฟท์)ของการเปิดวาล์วยังเท่าเดิม
เพราะใช้ลูกเบี้ยวเดิมชุดเดียว แต่มีหัวแคมชาฟต์แบบพิเศษที่เยื้องไปมาได้
ซึ่งก็เหลือเฟือสำหรับการใช้งานทั่วไปแล้ว
นอกจากนั้นโตโยต้า ยังมีระบบที่เหนือชั้นขึ้นไปอีก คือ
ระบบ VVTL-i = VARIABLE VALVE TIMING AND LIFT-INTELLIGENCE
คือ แท่งแคมชาฟต์จะมีลูกเบี้ยวเพิ่มขึ้นและมีระบบกระเดื่องกดวาล์วแบบพิเศษเพิ่มขึ้นมา
คอยสลับชุดลูกเบี้ยวใช้งานในแต่ละรอบ
โดยในช่วงเครื่องยนต์หมุนรอบต่ำถึงปานกลางใช้ลูกเบี้ยวชุดหนึ่ง
พอเข้าสู่ช่วงรอบสูงก็สลับกระเดื่องไปใช้ลูกเบี้ยวอีกชุดหนึ่งในการเปิดวาล์ว
ซึ่งระบบนี้จะใช้ในรถสปอร์ต เช่น เซลิก้า เป็นต้น
เปรียบเทียบกับระบบอื่น
ระบบแปรผันการเปิดวาล์ว แยกได้เป็น 3 แบบหลัก ไล่จากความยุ่งยากและผลที่ได้จากได้ผลดีน้อยไปมาก คือ
1. แปรผันช่วงเวลา แต่ความนานและระยะยกเท่าเดิม
ใช้ลูกเบี้ยวเดิม โดยไปเยื้องกันที่หัวแคมชาฟต์
เช่น VVT-i, VANOS
2. แปรผันทั้งหมด ทั้งช่วงเวลา ความนาน และระยะยก
โดยเปลี่ยนลูกเบี้ยวไปเลย ใช้ระบบกระเดื่องพิเศษคอยสลับลูกเบี้ยว
เช่น VTEC, MIVEC
3. แปรผันทั้งหมดและเยื้องช่วงเวลา โดยนำแบบ 1 ทำงานร่วมกับแบบ 2
คือ เยื้องที่หัวแคมชาฟต์และสลับลูกเบี้ยวด้วยกระเดื่องพิเศษ
เช่น i-VTEC, VVTL-i
ระบบ VVT-i จัดอยู่ในแบบแรก คือ เยื้องที่หัวแคมชาฟต์เท่านั้น ให้ผลดีน้อยที่สุดใน 3 แบบ
แต่ก็มีความยุ่งยากน้อยที่สุด และมีหลายยี่ห้อนิยมใช้ เพราะความง่ายแต่ได้ผลดีพอสมควรนั่นเอง
สรุปง่ายๆ กับการแปรผันการเปิด-ปิดวาล์ว
ก็เหมือนคนที่หายใจได้หลายแบบในแต่ละสภาวะที่แตกต่างกัน
ทำให้เครื่องยนต์ได้ความสมบูรณ์ในการทำงานทุกช่วงนั่นเอง
แต่มีหลายรูปแบบการทำงาน ไม่ใช่เห็นว่าแปรผันได้แล้วจะดีเท่ากันหมด
ต้องดูว่าแปรผันแบบใดแค่ไหน
เครื่องยนต์ระบบ VVT-i ทำงานอย่างไร?
เครื่องยนต์ระบบ VVT-i เป็นระบบควบคุมการเปิด-ปิด วาล์วไอดี และ ไอเสีย คือหัวใจหลักในการพัฒนาเครื่องยนต์
การเปิด - ปิดวาล์วจะขึ้นอยู่กับความต้องการกำลัง ของเครื่องยนต์ ในแต่ละสถานการณ์ (ระยะเดินเครื่องเบา เร่งแซงหรือขับเร็วคงที่) วิศวกรโตโยต้าได้ทุ่มเทพัฒนา ระบบวาล์วอัจฉริยะ เพื่อความสุดยอดในจุดนี้ ระบบ VVT-i จะคำนวณหารอบเครื่องยนต์ (RPMs) องศาการเปิดลิ้นปีกผีเสื้อ และปัจจัยอื่นๆเพื่อให้เกิดจังหวะการทำงานที่แม่นยำและต่อเนื่องที่สุด ในขณะที่ผู้ผลิตรายอื่นๆ เพียงแต่เปลี่ยนไทยม์มิ่ง ของรอบเดินเครื่อง ณ. จุดสูงสุดหรือต่ำสุดเท่านั้น การควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์ VVT-i ของโตโยต้า ให้การตอบสนองที่ฉับไวอย่างไม่น่าเชื่อ นั่นคือ มีจังหวะเปลี่ยน 1/1000 ครั้งในหนึ่งวินาทีผลดีที่ได้รับคือเครื่องยนต์ให้พลังแรงจัดทำงานเต็มสมรรถนะ และสะอาดหมดจด
คุณสมบัติเด่น 3 ประการของ VVT-iกำลังแรงจัดยิ่งขึ้น จากระบบควบคุมเวลาการเปิด - ปิดวาล์ว VVT-i จึงให้แรงบิดสูงในทุกรอบเครื่องยนต์ ทำให้มีอัตราเร่งที่ดีเลิศ และนุ่มนวลขณะเร่งเครื่องยนต์ ประหยัดน้ำมันยิ่งขึ้น เครื่องยนต์ VVT-i ใช้เชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นทำงานได้เต็มสมรรถนะ ปริมาณควันพิษลดลง การเผาไหม้ที่สมบูรณ์ทำให้ควันพิษลดลง ด้วยเหตุนี้เครื่องยนต์โตโยต้าจึงช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ขณะที่มีสมรรถนะเครื่องยนต์เพิ่มขึ้น
ระบบท่อไอเสียวางหลังดีกว่าระบบท่อไอเสียวางหน้าจริงหรือ?
ระบบท่อไอเสียวางหลัง Rear Exhaust Pipe Layout เครื่องยนต์ใหม่ มีการสลับที่ของท่อนำเข้าไอดีและท่อผ่านไอเสีย โดยให้อากาศดีผ่านท่อซึ่งอยู่ด้านหน้า และระบายอากาศเสียออกไปทางท่อที่อยู่ด้านหลังของเครื่องยนต์ส่งผลให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นลดเสียงดัง และย่นระยะทางไปยังเครื่องกรองไอเสียให้สั้นลง เป็นการเพิ่มสมรรถนะเครื่องยนต์ได้เป็นอย่างดี
ดับเบิ้ลวิชโบน กับ แมคเฟอร์สันสตรัท ต่างกันอย่างไร?
ข้อที่เหมือนกัน คือ เป็นระบบรองรับแบบอิสะมีความนุ่มนวลต่างกัน คือ
ดับเบิ้ลวิชโบน แมคฟอร์สันสตรัท
* มีปีกนกสองชั้น มีปีกนกล่างขนาดใหญ่ตัวเดียว
* มีจุดเชื่อมยึดหลายจุด จุดเชื่อมยึดน้อย
* ค่าบำรุงรักษาแพง เพราะ
ต้องเปลี่ยนหลายชิ้น
ค่าบำรุงรักษาน้อย เพราะเปลี่ยนน้อย
ชิ้น
* ใช้โช๊คอัพขนาดเล็ก ใช้โช๊คอัพขนาดใหญ่
* เกาะถนนทรงตัวดีในทาง เกาะถนนทุกสภาพทางและทนทานที่สุด
ข้อแตกต่างระหว่างการใช้ ดิสก์ทั้งสี่ล้อ กับ หน้าดิสก์หลังดรัม เป็นอย่างไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร?
เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของระบบเบรกสองแบบคือ Disc และ Drum
Disc Drum
ข้อดี
1. เบรกทั้งสองข้างทำงานเท่ากัน
2. ระบบระบายความร้อนดี
3. ผ้าเบรกแห้งเร็วเมื่อวิ่งผ่าน
น้ำท่วมขัง
1. แรงจับเบรกมาก (ประสิทธิภาพสูง)
2. ป้องกันฝุ่นละออง หินกรวดดี
3. ทนทานกว่า
4. ราคาอะไหล่ถูกกว่า
ข้อเสีย
1. ประสิทธิภาพต่ำ (ต้องใช้หม้อ
ลมเบรกช่วย)
2. ผ้าเบรก จานเบรกสึกเร็ว
3. ราคาอะไหล่แพง
1. แรงจับเบรกสองข้างมีโอกาสทำงาน
ไม่เท่ากัน
2. ผ้าเบรกแห้งช้ากว่า แบบ Disc
เมื่อวิ่งผ่านน้ำท่วมขัง
การใช้เกียร์ช่วยเบรก ในเกียร์ Auto เช่น ใช้เกียร์ 2 เพื่อชลอรถ จะมีผลเสียหรือไม่ ?
ไม่มี แต่ความเร็วขณะนั้น ต้องไม่เร็วเกินกว่าความเร็วสูงสุด ณ. เกียร์ที่เปลี่ยนไป
MINOR CHANGE ต่างกับ MODEL CHANGE อย่างไร
MINOR CHANGE - เป็นการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในแต่ละรุ่นของรถ หรือ อีกนัยหนึ่งก็คือการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย อันรวมถึงการแก้ไข หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบางส่วนในเครื่องยนต์แซสซีส ห้องเกียร์ หรือรูปแบบของรถทั้งหมด แต่ในบางครั้ง จะรวมถึงเครื่องยนต์แบบใหม่ หรือรูปทรงตัวถังใหม่ เป็นต้น
MODEL CHANGE - โดยทั่วไปจะหมายถึง การเปลี่ยนรุ่นแบบเต็มตัว ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงระบบและการทำงานที่สำคัญ ๆ เช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงรูปทรงของรถที่มีอยู่แล้วในตลาดรถ ถ้าเป็นการเปลี่ยนเพียงเล็กน้อยเรียกว่า Minor changes หรือ Facelifts การเปลี่ยนรุ่นแบบเต็มตัวนี้ รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดในเครื่องยนต์หรือ แซสซีส หรือ รูปทรงของตัวถัง โดยทั่วไปแล้วรถยนต์โดยสารจะเปลี่ยนรุ่นแบบเต็มตัวในทุก ๆ4-6 ปี และจะเปลี่ยนรุ่นเพียงเล็กน้อย ในทุก ๆ 2-3 ปี เพื่อแนะนำการเปลี่ยนแปลงบางส่วนทั้งภายในและภายนอกของรถพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงการทำงาน
KICK-DOWN คืออะไร ?
คือเทคนิคการขับขี่ที่ใช้กับเกียร์อัตโนมัติเพื่อเพิ่มความเร็วเมื่อเวลาต้องการเร่งรถยนต์โดยการเหยียบแป้นคันเร่งให้จมลงไปทีเดียว จะทำให้เกียร์
เปลี่ยนเป็นเกียร์ต่ำโดยอัตโนมัติ และให้กำลังมากขึ้น เราจึงนิยมใช้เทคนิคแบบนี้ในการเร่งแซงและเปลี่ยนช่องทางบนทางด่วน
CRUISE CONTROL SYSTEM (CCS) คืออะไร ?
ระบบตั้งความเร็วหรือระบบตั้งความเร็วอัตโนมัติ ทำให้สามารถขับรถได้ โดยไม่ต้องเหยียบแป้นคันเร่ง เมื่อขับรถอยู่ที่ความเร็วคงที่แล้ว เราสามารถตั้ง CRUISE CONTROL ไว้ที่ความเร็วที่เราต้องการจะทำให้รถยนต์สามารถรักษาความเร็วคงที่ไว้ได้ตามที่ตั้ง ไม่ว่าจะขึ้นหรือลงเขาอัตราความเร็วที่ตั้งไว้จะถูกเร่งขึ้นและลดเองโดยอัตโนมัติ เมื่อผู้ขับเหยียบแป้นเบรก ระบบตั้งความเร็ว (CRUISE CONTROL SYSTEM) จะถูกล้างออกโดยอัตโนมัติ ระบบนี้ทำให้ผู้ขับรถที่ใช้อัตราเร็วคงที่ และในระยะทางไกล ๆ เกิดความรู้สึกสะดวกสบายและเพลิดเพลิน กับการขับรถมากขึ้น
หัวเทียนร้อน - หัวเทียนเย็น
หัวเทียนเย็น (Cold Plug) ตัวฉนวนส่วนที่หุ้มแกนกลางจะสั้น ระยะทางความร้อนจึงสั้น จึงระบายความร้อนได้ง่าย
หัวเทียนร้อน (Hot Plug) ตัวฉนวนส่วนที่หุ้มแกนกลางจะยาว ระยะทางระบายความร้อน จึงระบายความร้อนได้ยากกว่า
การเลือกใช้หัวเทียน ที่มีช่วงความร้อนของหัวเทียนแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับภาระในการทำงาน ถ้าใช้หัวเทียนเย็นเกินไป หัวเทียนจะบอด ถ้าใช้หัวเทียนร้อนเกินไป อายุการใช้งานของหัวเทียนจะสั้น จึงต้องเลือกให้เหมาะกับภาระในการทำงาน
สำหรับเครื่องยนต์ที่ทำงานที่ความเร็วสูง ๆ หรือ ภาระมาก ๆ เช่นรถยนต์วิ่งทางไกลไปต่างจังหวัด หัวเทียนจะร้อนมาก จำเป็นต้องเลือกใช้หัวเทียนเย็น เพื่อให้ระบายร้อนได้ง่าย
สำหรับเครื่องยนต์ที่ทำงานที่ความเร็วต่ำ ๆ หรือ ภาระน้อย ๆ เช่นรถยนต์ที่วิ่งในเมืองที่มีรถติดมาก ๆ หัวเทียนจะเย็น จำเป็นต้องเลือกใช้หัวเทียนร้อน
hift Lock หรือ Shift Lock Overdrive (ปุ่มปลดล็อคเกียร์)
กรณีถ้าเลื่อนคันเกียร์ออกจากตำแหน่ง " P " ไปยังตำแหน่งที่ต้องการไม่ได้ ให้ใช้ปุ่ม Shift Lock หรือ Shift Lock Overdrive (ปุ่มปลดล็อคเกียร์) เราจะสามารถเลื่อนเกียร์ออกจากตำแหน่ง " P " ได้โดยการกดปุ่ม Shift Lock (บริเวณโคนเกียร์)และสามารถเลื่อนเกียร์ จากตำแหน่งเกียร์ " P " ไปยังตำแหน่งเกียร์ที่ต้องการได้
หรือใช้ใน กรณีที่เรา จอดรถและต้องการให้มีการเลื่อนรถได้ขณะจอดรถทิ้งไว้ เช่น ห้างสรรพสินค้า หรือ โรงภาพยนต์ เป็นต้น เราควรปฎิบัติดังนี้
- ควรเหยียบคันเหยียบเบรคให้รถยนต์หยุดสนิท
- เลื่อนคันเกียร์มาที่ตำแหน่ง " P "
- ดับเครื่องยนต์
- ถอดกุญแจออก
- กดปุ่ม Shift Lock ค้างไว้
- เลื่อนตำแหน่ง เกียร์ " P " มายังตำแหน่ง " N "
อัตราส่วนการอัด
อัตราส่วนการอัด คือ อัตราส่วนปริมาตรของกระบอกสูบและปริมาตรของห้องเผาไหม้ที่ลูกสูบอยู่ที่ศูนย์ตายล่าง (V2) กับปริมาตรห้องเผาไหม้ซึ่งลูกสูบอยู่ที่ศูนย์ตายบน (V1)ซึ่งสามารถคำนวณได้ดังนี้
อัตราส่วนกำลังอัด = (V1 + V2)/ V1
การเปิด - ปิดวาล์วจะขึ้นอยู่กับความต้องการกำลัง ของเครื่องยนต์ ในแต่ละสถานการณ์ (ระยะเดินเครื่องเบา เร่งแซงหรือขับเร็วคงที่) วิศวกรโตโยต้าได้ทุ่มเทพัฒนา ระบบวาล์วอัจฉริยะ เพื่อความสุดยอดในจุดนี้ ระบบ VVT-i จะคำนวณหารอบเครื่องยนต์ (RPMs) องศาการเปิดลิ้นปีกผีเสื้อ และปัจจัยอื่นๆเพื่อให้เกิดจังหวะการทำงานที่แม่นยำและต่อเนื่องที่สุด ในขณะที่ผู้ผลิตรายอื่นๆ เพียงแต่เปลี่ยนไทยม์มิ่ง ของรอบเดินเครื่อง ณ. จุดสูงสุดหรือต่ำสุดเท่านั้น การควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์ VVT-i ของโตโยต้า ให้การตอบสนองที่ฉับไวอย่างไม่น่าเชื่อ นั่นคือ มีจังหวะเปลี่ยน 1/1000 ครั้งในหนึ่งวินาทีผลดีที่ได้รับคือเครื่องยนต์ให้พลังแรงจัดทำงานเต็มสมรรถนะ และสะอาดหมดจด
คุณสมบัติเด่น 3 ประการของ VVT-iกำลังแรงจัดยิ่งขึ้น จากระบบควบคุมเวลาการเปิด - ปิดวาล์ว VVT-i จึงให้แรงบิดสูงในทุกรอบเครื่องยนต์ ทำให้มีอัตราเร่งที่ดีเลิศ และนุ่มนวลขณะเร่งเครื่องยนต์ ประหยัดน้ำมันยิ่งขึ้น เครื่องยนต์ VVT-i ใช้เชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นทำงานได้เต็มสมรรถนะ ปริมาณควันพิษลดลง การเผาไหม้ที่สมบูรณ์ทำให้ควันพิษลดลง ด้วยเหตุนี้เครื่องยนต์โตโยต้าจึงช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ขณะที่มีสมรรถนะเครื่องยนต์เพิ่มขึ้น
ระบบท่อไอเสียวางหลังดีกว่าระบบท่อไอเสียวางหน้าจริงหรือ?
ระบบท่อไอเสียวางหลัง Rear Exhaust Pipe Layout เครื่องยนต์ใหม่ มีการสลับที่ของท่อนำเข้าไอดีและท่อผ่านไอเสีย โดยให้อากาศดีผ่านท่อซึ่งอยู่ด้านหน้า และระบายอากาศเสียออกไปทางท่อที่อยู่ด้านหลังของเครื่องยนต์ส่งผลให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นลดเสียงดัง และย่นระยะทางไปยังเครื่องกรองไอเสียให้สั้นลง เป็นการเพิ่มสมรรถนะเครื่องยนต์ได้เป็นอย่างดี
ดับเบิ้ลวิชโบน กับ แมคเฟอร์สันสตรัท ต่างกันอย่างไร?
ข้อที่เหมือนกัน คือ เป็นระบบรองรับแบบอิสะมีความนุ่มนวลต่างกัน คือ
ดับเบิ้ลวิชโบน แมคฟอร์สันสตรัท
* มีปีกนกสองชั้น มีปีกนกล่างขนาดใหญ่ตัวเดียว
* มีจุดเชื่อมยึดหลายจุด จุดเชื่อมยึดน้อย
* ค่าบำรุงรักษาแพง เพราะ
ต้องเปลี่ยนหลายชิ้น
ค่าบำรุงรักษาน้อย เพราะเปลี่ยนน้อย
ชิ้น
* ใช้โช๊คอัพขนาดเล็ก ใช้โช๊คอัพขนาดใหญ่
* เกาะถนนทรงตัวดีในทาง เกาะถนนทุกสภาพทางและทนทานที่สุด
ข้อแตกต่างระหว่างการใช้ ดิสก์ทั้งสี่ล้อ กับ หน้าดิสก์หลังดรัม เป็นอย่างไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร?
เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของระบบเบรกสองแบบคือ Disc และ Drum
Disc Drum
ข้อดี
1. เบรกทั้งสองข้างทำงานเท่ากัน
2. ระบบระบายความร้อนดี
3. ผ้าเบรกแห้งเร็วเมื่อวิ่งผ่าน
น้ำท่วมขัง
1. แรงจับเบรกมาก (ประสิทธิภาพสูง)
2. ป้องกันฝุ่นละออง หินกรวดดี
3. ทนทานกว่า
4. ราคาอะไหล่ถูกกว่า
ข้อเสีย
1. ประสิทธิภาพต่ำ (ต้องใช้หม้อ
ลมเบรกช่วย)
2. ผ้าเบรก จานเบรกสึกเร็ว
3. ราคาอะไหล่แพง
1. แรงจับเบรกสองข้างมีโอกาสทำงาน
ไม่เท่ากัน
2. ผ้าเบรกแห้งช้ากว่า แบบ Disc
เมื่อวิ่งผ่านน้ำท่วมขัง
การใช้เกียร์ช่วยเบรก ในเกียร์ Auto เช่น ใช้เกียร์ 2 เพื่อชลอรถ จะมีผลเสียหรือไม่ ?
ไม่มี แต่ความเร็วขณะนั้น ต้องไม่เร็วเกินกว่าความเร็วสูงสุด ณ. เกียร์ที่เปลี่ยนไป
MINOR CHANGE ต่างกับ MODEL CHANGE อย่างไร
MINOR CHANGE - เป็นการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในแต่ละรุ่นของรถ หรือ อีกนัยหนึ่งก็คือการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย อันรวมถึงการแก้ไข หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบางส่วนในเครื่องยนต์แซสซีส ห้องเกียร์ หรือรูปแบบของรถทั้งหมด แต่ในบางครั้ง จะรวมถึงเครื่องยนต์แบบใหม่ หรือรูปทรงตัวถังใหม่ เป็นต้น
MODEL CHANGE - โดยทั่วไปจะหมายถึง การเปลี่ยนรุ่นแบบเต็มตัว ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงระบบและการทำงานที่สำคัญ ๆ เช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงรูปทรงของรถที่มีอยู่แล้วในตลาดรถ ถ้าเป็นการเปลี่ยนเพียงเล็กน้อยเรียกว่า Minor changes หรือ Facelifts การเปลี่ยนรุ่นแบบเต็มตัวนี้ รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดในเครื่องยนต์หรือ แซสซีส หรือ รูปทรงของตัวถัง โดยทั่วไปแล้วรถยนต์โดยสารจะเปลี่ยนรุ่นแบบเต็มตัวในทุก ๆ4-6 ปี และจะเปลี่ยนรุ่นเพียงเล็กน้อย ในทุก ๆ 2-3 ปี เพื่อแนะนำการเปลี่ยนแปลงบางส่วนทั้งภายในและภายนอกของรถพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงการทำงาน
KICK-DOWN คืออะไร ?
คือเทคนิคการขับขี่ที่ใช้กับเกียร์อัตโนมัติเพื่อเพิ่มความเร็วเมื่อเวลาต้องการเร่งรถยนต์โดยการเหยียบแป้นคันเร่งให้จมลงไปทีเดียว จะทำให้เกียร์
เปลี่ยนเป็นเกียร์ต่ำโดยอัตโนมัติ และให้กำลังมากขึ้น เราจึงนิยมใช้เทคนิคแบบนี้ในการเร่งแซงและเปลี่ยนช่องทางบนทางด่วน
CRUISE CONTROL SYSTEM (CCS) คืออะไร ?
ระบบตั้งความเร็วหรือระบบตั้งความเร็วอัตโนมัติ ทำให้สามารถขับรถได้ โดยไม่ต้องเหยียบแป้นคันเร่ง เมื่อขับรถอยู่ที่ความเร็วคงที่แล้ว เราสามารถตั้ง CRUISE CONTROL ไว้ที่ความเร็วที่เราต้องการจะทำให้รถยนต์สามารถรักษาความเร็วคงที่ไว้ได้ตามที่ตั้ง ไม่ว่าจะขึ้นหรือลงเขาอัตราความเร็วที่ตั้งไว้จะถูกเร่งขึ้นและลดเองโดยอัตโนมัติ เมื่อผู้ขับเหยียบแป้นเบรก ระบบตั้งความเร็ว (CRUISE CONTROL SYSTEM) จะถูกล้างออกโดยอัตโนมัติ ระบบนี้ทำให้ผู้ขับรถที่ใช้อัตราเร็วคงที่ และในระยะทางไกล ๆ เกิดความรู้สึกสะดวกสบายและเพลิดเพลิน กับการขับรถมากขึ้น
หัวเทียนร้อน - หัวเทียนเย็น
หัวเทียนเย็น (Cold Plug) ตัวฉนวนส่วนที่หุ้มแกนกลางจะสั้น ระยะทางความร้อนจึงสั้น จึงระบายความร้อนได้ง่าย
หัวเทียนร้อน (Hot Plug) ตัวฉนวนส่วนที่หุ้มแกนกลางจะยาว ระยะทางระบายความร้อน จึงระบายความร้อนได้ยากกว่า
การเลือกใช้หัวเทียน ที่มีช่วงความร้อนของหัวเทียนแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับภาระในการทำงาน ถ้าใช้หัวเทียนเย็นเกินไป หัวเทียนจะบอด ถ้าใช้หัวเทียนร้อนเกินไป อายุการใช้งานของหัวเทียนจะสั้น จึงต้องเลือกให้เหมาะกับภาระในการทำงาน
สำหรับเครื่องยนต์ที่ทำงานที่ความเร็วสูง ๆ หรือ ภาระมาก ๆ เช่นรถยนต์วิ่งทางไกลไปต่างจังหวัด หัวเทียนจะร้อนมาก จำเป็นต้องเลือกใช้หัวเทียนเย็น เพื่อให้ระบายร้อนได้ง่าย
สำหรับเครื่องยนต์ที่ทำงานที่ความเร็วต่ำ ๆ หรือ ภาระน้อย ๆ เช่นรถยนต์ที่วิ่งในเมืองที่มีรถติดมาก ๆ หัวเทียนจะเย็น จำเป็นต้องเลือกใช้หัวเทียนร้อน
hift Lock หรือ Shift Lock Overdrive (ปุ่มปลดล็อคเกียร์)
กรณีถ้าเลื่อนคันเกียร์ออกจากตำแหน่ง " P " ไปยังตำแหน่งที่ต้องการไม่ได้ ให้ใช้ปุ่ม Shift Lock หรือ Shift Lock Overdrive (ปุ่มปลดล็อคเกียร์) เราจะสามารถเลื่อนเกียร์ออกจากตำแหน่ง " P " ได้โดยการกดปุ่ม Shift Lock (บริเวณโคนเกียร์)และสามารถเลื่อนเกียร์ จากตำแหน่งเกียร์ " P " ไปยังตำแหน่งเกียร์ที่ต้องการได้
หรือใช้ใน กรณีที่เรา จอดรถและต้องการให้มีการเลื่อนรถได้ขณะจอดรถทิ้งไว้ เช่น ห้างสรรพสินค้า หรือ โรงภาพยนต์ เป็นต้น เราควรปฎิบัติดังนี้
- ควรเหยียบคันเหยียบเบรคให้รถยนต์หยุดสนิท
- เลื่อนคันเกียร์มาที่ตำแหน่ง " P "
- ดับเครื่องยนต์
- ถอดกุญแจออก
- กดปุ่ม Shift Lock ค้างไว้
- เลื่อนตำแหน่ง เกียร์ " P " มายังตำแหน่ง " N "
อัตราส่วนการอัด
อัตราส่วนการอัด คือ อัตราส่วนปริมาตรของกระบอกสูบและปริมาตรของห้องเผาไหม้ที่ลูกสูบอยู่ที่ศูนย์ตายล่าง (V2) กับปริมาตรห้องเผาไหม้ซึ่งลูกสูบอยู่ที่ศูนย์ตายบน (V1)ซึ่งสามารถคำนวณได้ดังนี้
อัตราส่วนกำลังอัด = (V1 + V2)/ V1
เครื่องยนต์ใหม่ของอีซูซุ
ถือเป็นการเดินเกมของค่ายอีซูซุที่ออกมาตั้งรับกับการเปิดตัวรถกระบะโตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้ เมื่อต้นเดือนกันยายนเพราะหลังจากวีโก้ปรากฏตัวออกสู่ตลาดรถกระบะเมืองไทยได้เพียง 1 เดือน ในต้นเดือนตุลาคม อีซูซุ ดีแมค รุ่นใหม่ ก็ได้ปรากฏโฉมออกมาให้เห็นทันทีเช่นกัน
แต่จุดขายของดีแมคใหม่ ไม่ได้อยู่ที่รูปทรงของตัวถังรถ เพราะอีซูซุเพิ่งปรับโฉมรถกระบะครั้งใหญ่ ชนิดที่เป็น major change ด้วยการออกรุ่นดีแมคมาได้เพียงแค่ 2 ปีเท่านั้น ดังนั้น การโต้กลับกับวีโก้ของโตโยต้า อีซูซุจึงชูจุดขายอยู่ที่เครื่องยนต์ใหม่ "อีซูซุ ไอ-เทค 3000 ดีดีไอ" ที่ทางอีซูซุภูมิใจนักว่าเป็นเครื่องยนต์ที่เพิ่งผ่านการออกแบบใหม่หมดทุกชิ้นส่วน เพื่อให้เป็น คอมมอนเรลอย่างแท้จริง
ตลอดเวลาเกือบ 2 ชั่วโมงของงานเปิดตัวอีซูซุ ดีแมค รุ่นใหม่ ข้อมูลที่ถูกเน้นย้ำชนิดแทบจะเรียกได้ว่ายัดเยียดในการนำเสนอ คือประสบการณ์ในการผลิตเครื่องยนต์ดีเซลของอีซูซุที่มียาวนานถึง 65 ปี ผลิตเครื่องยนต์ดีเซล มาแล้วกว่า 17 ล้านเครื่อง และเป็นผู้นำในการ พัฒนาเครื่องยนต์ดีเซลระบบไดเรคอินเจคชั่น มายาวนานกว่า 20 ปี
สำหรับเครื่องยนต์ไอ-เทค (I-TEC) อีซูซุ ยืนยันว่าเป็นเครื่องยนต์ดีเซลที่ได้รับการออกแบบใหม่อย่างแท้จริง มิใช่การดัดแปลงนำระบบคอมมอนเรลมาใส่ในเครื่องรุ่นเดิม ซึ่งจะทำให้เครื่องยนต์มีคุณภาพต่ำ และการวางตำแหน่งชิ้นส่วนต่างๆ ไม่เหมาะสม
จุดเด่นของเครื่องรุ่นนี้อยู่ที่ระบบการจ่ายน้ำมัน แรงดันสูง "Super High-pressure" 180 MPa ซึ่งสูง ที่สุด พร้อมกับระบบจ่ายน้ำมันแบบ Just-on-Demand ที่ทำงานสัมพันธ์กับจังหวะรอบของเครื่องยนต์ และหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์ที่ทนทานต่อแรงดันที่สูงกว่า
ตัวเครื่องยนต์ได้รับการออกแบบใหม่ให้มีความทนทานกว่าเดิมถึง 1.7 เท่า ด้วยเสื้อสูบแบบ Melt-in-Liner ที่ชุบแข็งแบบเหนี่ยวนำด้วยไฟฟ้า ซึ่งมาพร้อมกับฝาสูบอะลูมินั่ม อัลลอยด์ ซึ่งเป็นวัสดุพิเศษที่มีลิขสิทธิ์เฉพาะของอีซูซุ และระบบ ระบายความร้อนด้วยน้ำ 2 ชั้น
อีกจุดหนึ่งซึ่งสำคัญ คือชุดขับเพลาลูกเบี้ยว พร้อมเฟืองและโซ่ (Timing Gear and Chain) ซึ่งมีความแข็งแรง ทนทาน กว่า ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนโซ่ไทม์มิ่งตามระยะการบำรุงรักษา
สำหรับเครื่องยนต์ใหม่ที่นำมาใช้ ทำให้ราคารถกระบะดีแมคใหม่ ในรุ่น 3,000 ซีซี จะเพิ่มขึ้นจากเดิมเพียงคันละ 1,000-3,500 บาท เท่านั้น แต่เครื่องจะแรงกว่า โดยมีแรงม้าเพิ่มขึ้น 26 แรงม้า ในขณะที่ประหยัดน้ำมันลงจากเดิม 15%
แต่จุดขายของดีแมคใหม่ ไม่ได้อยู่ที่รูปทรงของตัวถังรถ เพราะอีซูซุเพิ่งปรับโฉมรถกระบะครั้งใหญ่ ชนิดที่เป็น major change ด้วยการออกรุ่นดีแมคมาได้เพียงแค่ 2 ปีเท่านั้น ดังนั้น การโต้กลับกับวีโก้ของโตโยต้า อีซูซุจึงชูจุดขายอยู่ที่เครื่องยนต์ใหม่ "อีซูซุ ไอ-เทค 3000 ดีดีไอ" ที่ทางอีซูซุภูมิใจนักว่าเป็นเครื่องยนต์ที่เพิ่งผ่านการออกแบบใหม่หมดทุกชิ้นส่วน เพื่อให้เป็น คอมมอนเรลอย่างแท้จริง
ตลอดเวลาเกือบ 2 ชั่วโมงของงานเปิดตัวอีซูซุ ดีแมค รุ่นใหม่ ข้อมูลที่ถูกเน้นย้ำชนิดแทบจะเรียกได้ว่ายัดเยียดในการนำเสนอ คือประสบการณ์ในการผลิตเครื่องยนต์ดีเซลของอีซูซุที่มียาวนานถึง 65 ปี ผลิตเครื่องยนต์ดีเซล มาแล้วกว่า 17 ล้านเครื่อง และเป็นผู้นำในการ พัฒนาเครื่องยนต์ดีเซลระบบไดเรคอินเจคชั่น มายาวนานกว่า 20 ปี
สำหรับเครื่องยนต์ไอ-เทค (I-TEC) อีซูซุ ยืนยันว่าเป็นเครื่องยนต์ดีเซลที่ได้รับการออกแบบใหม่อย่างแท้จริง มิใช่การดัดแปลงนำระบบคอมมอนเรลมาใส่ในเครื่องรุ่นเดิม ซึ่งจะทำให้เครื่องยนต์มีคุณภาพต่ำ และการวางตำแหน่งชิ้นส่วนต่างๆ ไม่เหมาะสม
จุดเด่นของเครื่องรุ่นนี้อยู่ที่ระบบการจ่ายน้ำมัน แรงดันสูง "Super High-pressure" 180 MPa ซึ่งสูง ที่สุด พร้อมกับระบบจ่ายน้ำมันแบบ Just-on-Demand ที่ทำงานสัมพันธ์กับจังหวะรอบของเครื่องยนต์ และหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์ที่ทนทานต่อแรงดันที่สูงกว่า
ตัวเครื่องยนต์ได้รับการออกแบบใหม่ให้มีความทนทานกว่าเดิมถึง 1.7 เท่า ด้วยเสื้อสูบแบบ Melt-in-Liner ที่ชุบแข็งแบบเหนี่ยวนำด้วยไฟฟ้า ซึ่งมาพร้อมกับฝาสูบอะลูมินั่ม อัลลอยด์ ซึ่งเป็นวัสดุพิเศษที่มีลิขสิทธิ์เฉพาะของอีซูซุ และระบบ ระบายความร้อนด้วยน้ำ 2 ชั้น
อีกจุดหนึ่งซึ่งสำคัญ คือชุดขับเพลาลูกเบี้ยว พร้อมเฟืองและโซ่ (Timing Gear and Chain) ซึ่งมีความแข็งแรง ทนทาน กว่า ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนโซ่ไทม์มิ่งตามระยะการบำรุงรักษา
สำหรับเครื่องยนต์ใหม่ที่นำมาใช้ ทำให้ราคารถกระบะดีแมคใหม่ ในรุ่น 3,000 ซีซี จะเพิ่มขึ้นจากเดิมเพียงคันละ 1,000-3,500 บาท เท่านั้น แต่เครื่องจะแรงกว่า โดยมีแรงม้าเพิ่มขึ้น 26 แรงม้า ในขณะที่ประหยัดน้ำมันลงจากเดิม 15%
วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
การบำรุงรักษารถ NGV
รถที่ใช้ก๊าซ NGV เครื่องยนต์จะสึกหรอช้า และน้ำมันหล่อลื่นมีอายุการใช้งานนานขึ้น ด้วยเคล็ดลับการดูแลรถที่ถูกวิธี ดังนี้
ข้อแนะนำและการบำรุงรักษา
• รักษาระบบการจุดระเบิด (Ignition System) ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ (ดูตารางการซ่อมบำรุง)
• เครื่องยนต์จะสตาร์ทโดยใช้น้ำมันเบนซินเสมอ จึงควรมีน้ำมันเบนซินอยู่ในถัง ประมาณ 1 ใน 4 เพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดกับปั้มเชื้อเพลิงอิเล็คทรอนิคส์
• อุปกรณ์บางส่วนทำงานด้วยระบบอิเล็คทรอนิคส์หรือระบบไฟฟ้า จึงควรระวังไม่ให้อุปกรณ์เหล่านี้สัมผัสกับน้ำ
• เปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามระยะเวลาที่บริษัทผู้ผลิตแนะนำ
• ตรวจสอบ/เปลี่ยนกรองอากาศทุกๆ 10,000 กิโลเมตร
• ตรวจสอบ และตั้งบ่าวาล์วไอเสีย ทุกระยะใช้งานรถ 40,000 – 60,000 กม.
• เมื่อได้กลิ่นก๊าซ ให้หยุดการใช้ระบบก๊าซ โดยการปิดวาล์วหัวถังและกลับมาใช้งานระบบน้ำมันจากนั้นให้เข้ารับการตรวจสอบจากศูนย์ติดตั้งทันที
• ควรเข้ารับการบริการตรวจเช็คจากช่างผู้ชำนาญของศูนย์บริการเท่านั้นเพื่ออายุที่ยาวนาน
วิธีการแก้ไขเบื้องต้นกรณีเครื่องยนต์ดับ เมื่อสวิทช์ไปทำงานด้วยก๊าซธรรมชาติ
สาเหตุของปัญหา
การแก้ไขเบื้องต้น
ก๊าซธรรมชาติในถังบรรจุหมด
เติมก๊าซธรรมชาติหรือสวิทช์ไปทำงานด้วยน้ำมันเบนซิน
ฟิวส์ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม NGV ขาด
เปลี่ยนฟิวส์ (ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับตำแหน่งของฟิวส์ที่ใช้ในระบบ) กรณีกำลังเครื่องยนต์ตก หรือเร่งไม่ขึ้นเมื่อใช้ก๊าซธรรมชาติ
สาเหตุของปัญหา
การแก้ไขเบื้องต้น
ก๊าซธรรมชาติในถังบรรจุหมด
เติมก๊าซธรรมชาติ หรือสวิทช์ไปทำงานด้วยน้ำมันเบนซิน
อุปกรณ์ลดความดัน (NGV Reducer) สกปรกหรืออุดตัน
บิดสวิทช์ไปใช้งานด้วยน้ำมันเบนซิน และให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ
การจ่ายเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติไม่เหมาะสม
บิดสวิทช์ไปใช้งานด้วยน้ำมันเบนซิน และให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ กรณีอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเพลิงเพิ่มขึ้น
สาเหตุของปัญหา
การแก้ไขเบื้องต้น
การอุดตันของกรองอากาศ
ทำความสะอาดหรือเปลี่ยนกรองอากาศ
การรั่วของก๊าซธรรมชาติ
ปิดวาล์วที่ถังบรรจุกาซ และให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ
การผิดพลาดของระบบควบคุมเชื้อเพลิง ECU
ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบหรือจูนระบบใหม่
ตารางการซ่อมบำรุง (Service Schedule)
การซ่อมบำรุงที่ระยะ 10,000 กิโลเมตร
อุปกรณ์
ขั้นตอนในการซ่อมบำรุง
หม้อลดความดัน (Regulator)
การรั่วซึม , ข้อต่อต่างๆ
โซลินอยด์วาล์ว (NGV Solenoid Valve)
ตรวจสอบฟังก์ชั่นการทำงานและการรั่วซึม
วาล์วเติมเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (Master shut Off Valve)
ตรวจสอบหัวจ่าย (Probe) , ซีลและการรั่วซึม
เกจวัดความดัน (Pressure Gauge)
ตรวจสอบการรั่วซึม , ข้อต่อต่างๆ และท่อส่งก๊าซ
สวิทช์เปลี่ยนเชื้อเพลิง (Switch Indicator)
ตรวจสอบฟังก์ชั่นการทำงาน
วาล์วปิดถังบรรจุเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (Cylinder Valve)
ตรวจสอบฟังก์ชั่นการทำงานและการรั่วซึม
การปรับตัว (Tuning)
ปรับตั้งค่าให้เหมาะสมกับสภาพเครื่องยนต์ หมายเหตุ : ควรเช็คระบบการทำงานจากศูนย์บริการที่ได้มาตรฐาน
การซ่อมบำรุงประจำปี
อุปกรณ์
ขั้นตอนในการซ่อมบำรุง
หม้อลดความดัน (Regulator)
ตรวจสอบความตึงเกลียวและการรั่วซึม
โซลินอยด์วาล์ว (NGV Solenoid Valve)
ตรวจสอบฟังก์ชั่นการทำงานและการรั่วซึม
วาล์วเติมเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (Master shut Off Valve)
ตรวจสอบหัวจ่าย (Probe) , ซีลและการรั่วซึม
เกจวัดความดัน (Pressure Gauge)
ตรวจสอบฟังก์ชั่นการทำงาน
สวิทช์เปลี่ยนเชื้อเพลิง (Switch Indicator)
ตรวจสอบฟังก์ชั่นการทำงาน
ท่อเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติความดันสูง
ตรวจสอบการรั่วซึม ข้อต่อต่างๆ และท่อส่งก๊าซ
ถังบรรจุก๊าซธรรมชาติ
ตรวจสอบการรั่วซึม และสภาพภายนอก
วาล์วปิดถังบรรจุเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ
ตรวจสอบฟังก์ชั่นการทำงานและการรั่วซึม
การปรับตัว Tuning
ปรับตั้งเครื่องยนต์ทั้งระบบน้ำมันเบนซินและระบบก๊าซธรรมชาติ
กรองอากาศ (Air Filter)
ตรวจสอบการอุดตันตามระยะปกติหรือทุกๆ 5,000 – 10,000 กิโลเมตร
หัวเทียน (Spark Plug)
ตรวจสอบสภาพการทำงานตามระยะปกติหรือทุกๆ 5,000 – 10,000 กิโลเมตร
ข้อแนะนำและการบำรุงรักษา
• รักษาระบบการจุดระเบิด (Ignition System) ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ (ดูตารางการซ่อมบำรุง)
• เครื่องยนต์จะสตาร์ทโดยใช้น้ำมันเบนซินเสมอ จึงควรมีน้ำมันเบนซินอยู่ในถัง ประมาณ 1 ใน 4 เพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดกับปั้มเชื้อเพลิงอิเล็คทรอนิคส์
• อุปกรณ์บางส่วนทำงานด้วยระบบอิเล็คทรอนิคส์หรือระบบไฟฟ้า จึงควรระวังไม่ให้อุปกรณ์เหล่านี้สัมผัสกับน้ำ
• เปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามระยะเวลาที่บริษัทผู้ผลิตแนะนำ
• ตรวจสอบ/เปลี่ยนกรองอากาศทุกๆ 10,000 กิโลเมตร
• ตรวจสอบ และตั้งบ่าวาล์วไอเสีย ทุกระยะใช้งานรถ 40,000 – 60,000 กม.
• เมื่อได้กลิ่นก๊าซ ให้หยุดการใช้ระบบก๊าซ โดยการปิดวาล์วหัวถังและกลับมาใช้งานระบบน้ำมันจากนั้นให้เข้ารับการตรวจสอบจากศูนย์ติดตั้งทันที
• ควรเข้ารับการบริการตรวจเช็คจากช่างผู้ชำนาญของศูนย์บริการเท่านั้นเพื่ออายุที่ยาวนาน
วิธีการแก้ไขเบื้องต้นกรณีเครื่องยนต์ดับ เมื่อสวิทช์ไปทำงานด้วยก๊าซธรรมชาติ
สาเหตุของปัญหา
การแก้ไขเบื้องต้น
ก๊าซธรรมชาติในถังบรรจุหมด
เติมก๊าซธรรมชาติหรือสวิทช์ไปทำงานด้วยน้ำมันเบนซิน
ฟิวส์ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม NGV ขาด
เปลี่ยนฟิวส์ (ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับตำแหน่งของฟิวส์ที่ใช้ในระบบ) กรณีกำลังเครื่องยนต์ตก หรือเร่งไม่ขึ้นเมื่อใช้ก๊าซธรรมชาติ
สาเหตุของปัญหา
การแก้ไขเบื้องต้น
ก๊าซธรรมชาติในถังบรรจุหมด
เติมก๊าซธรรมชาติ หรือสวิทช์ไปทำงานด้วยน้ำมันเบนซิน
อุปกรณ์ลดความดัน (NGV Reducer) สกปรกหรืออุดตัน
บิดสวิทช์ไปใช้งานด้วยน้ำมันเบนซิน และให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ
การจ่ายเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติไม่เหมาะสม
บิดสวิทช์ไปใช้งานด้วยน้ำมันเบนซิน และให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ กรณีอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเพลิงเพิ่มขึ้น
สาเหตุของปัญหา
การแก้ไขเบื้องต้น
การอุดตันของกรองอากาศ
ทำความสะอาดหรือเปลี่ยนกรองอากาศ
การรั่วของก๊าซธรรมชาติ
ปิดวาล์วที่ถังบรรจุกาซ และให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ
การผิดพลาดของระบบควบคุมเชื้อเพลิง ECU
ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบหรือจูนระบบใหม่
ตารางการซ่อมบำรุง (Service Schedule)
การซ่อมบำรุงที่ระยะ 10,000 กิโลเมตร
อุปกรณ์
ขั้นตอนในการซ่อมบำรุง
หม้อลดความดัน (Regulator)
การรั่วซึม , ข้อต่อต่างๆ
โซลินอยด์วาล์ว (NGV Solenoid Valve)
ตรวจสอบฟังก์ชั่นการทำงานและการรั่วซึม
วาล์วเติมเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (Master shut Off Valve)
ตรวจสอบหัวจ่าย (Probe) , ซีลและการรั่วซึม
เกจวัดความดัน (Pressure Gauge)
ตรวจสอบการรั่วซึม , ข้อต่อต่างๆ และท่อส่งก๊าซ
สวิทช์เปลี่ยนเชื้อเพลิง (Switch Indicator)
ตรวจสอบฟังก์ชั่นการทำงาน
วาล์วปิดถังบรรจุเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (Cylinder Valve)
ตรวจสอบฟังก์ชั่นการทำงานและการรั่วซึม
การปรับตัว (Tuning)
ปรับตั้งค่าให้เหมาะสมกับสภาพเครื่องยนต์ หมายเหตุ : ควรเช็คระบบการทำงานจากศูนย์บริการที่ได้มาตรฐาน
การซ่อมบำรุงประจำปี
อุปกรณ์
ขั้นตอนในการซ่อมบำรุง
หม้อลดความดัน (Regulator)
ตรวจสอบความตึงเกลียวและการรั่วซึม
โซลินอยด์วาล์ว (NGV Solenoid Valve)
ตรวจสอบฟังก์ชั่นการทำงานและการรั่วซึม
วาล์วเติมเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (Master shut Off Valve)
ตรวจสอบหัวจ่าย (Probe) , ซีลและการรั่วซึม
เกจวัดความดัน (Pressure Gauge)
ตรวจสอบฟังก์ชั่นการทำงาน
สวิทช์เปลี่ยนเชื้อเพลิง (Switch Indicator)
ตรวจสอบฟังก์ชั่นการทำงาน
ท่อเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติความดันสูง
ตรวจสอบการรั่วซึม ข้อต่อต่างๆ และท่อส่งก๊าซ
ถังบรรจุก๊าซธรรมชาติ
ตรวจสอบการรั่วซึม และสภาพภายนอก
วาล์วปิดถังบรรจุเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ
ตรวจสอบฟังก์ชั่นการทำงานและการรั่วซึม
การปรับตัว Tuning
ปรับตั้งเครื่องยนต์ทั้งระบบน้ำมันเบนซินและระบบก๊าซธรรมชาติ
กรองอากาศ (Air Filter)
ตรวจสอบการอุดตันตามระยะปกติหรือทุกๆ 5,000 – 10,000 กิโลเมตร
หัวเทียน (Spark Plug)
ตรวจสอบสภาพการทำงานตามระยะปกติหรือทุกๆ 5,000 – 10,000 กิโลเมตร
การดูแลรักษารถเบื้องต้น
ในระบบสตาร์ทรถยนต์โดยทั่วไป ทั้งเครื่องยนต์เบนซินและดีเซลที่กุญแจสตาร์ทจะต้องบิดกุญแจ 3 จังหวะ คือ AC , ON และ START ผู้ขับขี่บางท่านอาจจะปิดกุญแจรวดเดียว 3 จังหวะไปที่ START ถ้ารถท่านเป็นรถใหม่ก็อาจจะไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้ารถท่านผ่านการใช้งานมานาน ๆ อาจต้องสตาร์ทหลายครั้งก่อนที่เครื่องยนต์จะติด ซึ่งระหว่างที่ท่านสตาร์ทรถหลาย ๆ ครั้งนั้น ท่านกำลังทำลายระบบสตาร์ทให้อายุการใช้งานสั้นลง วันนี้เรามีคำแนะนำการสตาร์ทรถที่ถูกวิธี ท่านจะไม่ต้องมานั่งสตาร์ท แชะ แชะ แชะ ให้เสียฟอร์ม และยังเป็นการยืดอายุระบบสตาร์ทให้ใช้งานได้ ดีอีกนานแสนนาน ด้วยวิธีง่าย ๆ ดังนี้
1. ปิดอุปกรณ์ที่ใช้ระบบไฟทั้งหมดในรถ เช่น เครื่องปรับอากาศไฟหน้า และเครื่องเสียงต่าง ๆ เพื่อให้แบตเตอร์รี่จ่ายไฟเต็มที่
2. เหยีบครัชให้สุด (สำหรับเกียร์ AUTO ให้เข้าเกียร์ที่ตำแหน่ง N หรือ P เพื่อผ่อนแรงมอร์เตอร์สตาร์ท
3. บิดกุญแจมาที่ตำแหน่ง ON ค้างไว้ ตราวจเช็คไฟเตือนต่าง (รายละเอียดให้ศึกษาจากคู่มือรถ) รอจนไฟเตือนหัวเผารูปขดสปริงเปลี่ยนจาก สีแดงเป็นสีเขียว หากเครื่องยนต์เย็นควรกดแป้นคันเร่ง 1 ครั้ง
4. บิดกุญแจสตาร์ทเท่านี้คุณก็ไม่ต้องนั่งเสียฟอร์มสตาร์ทรถ แชะ แชะ แชะแล้วขอให้ทำจนเป็นนิสัยไม่ว่ารถเก่าหรือรถใหม่ หากทำตามวิธีนี้แล้วไม่ได้ผลให้ ท่านนำรถเข้าตรวจเช็คที่ศูนย์บริการหรือร้านซ่อมระบบไฟไดชาร์ท ไดสตาร์ทโดยทั่วไป
การดูแลถนอมรักษารถ
มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
ก่อนอื่นขอพูดถึงเรื่อง ความเงาของสีรถ เกิดขึ้นจาก ความสะอาด ความเรียบ และความใสของ แลกเกอร์(Clear Coated) สิ่งที่จะทำให้เกิดความสะอาด ความเรียบ ความใส ก็ต้องทำในขั้นตอนดังนี้
1. ใช้ดินน้ำมัน Over Spray Clay สำหรับการลบละอองสี ยางไม้ สิ่งสกปรกที่ติดบนผิวสี ขี้ไคลสี หลังจากล้างรถแล้ว เคลือบสี ทำให้สีรถของท่านจะเรียบสะอาด
2. ลบรอยขนแมว บนสีผมโดยใช้น้ำยาและอุปกรณ์ ฟื้นฟูสภาพผิวสี จาก Meguiars USAวิธีนี้รถของท่านจะกลับมาเหมือนใหม่ โดยสีจะใสเข้มขึ้นจากการสะท้อนที่ดีของแสงกระทบบนผิวสีที่ ขัดแล้ว ความกังวลของลูกค้าที่ Clear Coated บางลง จริงๆในการขัดนั้น จะเป็นการลบรอยบน Clear Coated เท่านั้น ซึ่งน้ำยาของ Meguiar’s นั้นไม่มีส่วนผสมของน้ำมันทำละลาย ซึ่งดมพิสูจน์ได้ ต่างจากที่ขัดจากอู่สี เขาต้องการขัดหน้า ให้ออกลึกๆ เพื่อปรับสีให้เรียบดังนั้นน้ำยาที่ใช้จึงมีส่วนผสมของน้ำยาทำละลายสูง (Solvent)เมื่อมีการขัดสีทุกครั้ง ช่างโดยทั่วไปจะใช้วิธีเดียวกันกับในอู่สีและใช้น้ำยาขัดเหมือนกันด้วยซึ่งจะทำให้สีของท่านบางลงเกินกว่าที่ต้องการลบรอย เพราะฉะนั้นการขัดฟื้นฟูสภาพสีผิวโดยกระบวนการของ Meguiar’s จึงเหมาะกับ สีรถที่ต้องการดูแลรักษาให้กลับมาเหมือนใหม่อีกครั้ง
การดูแลรถยนต์ให้ใหม่อยู่เสมอ
คนส่วนใหญ่มักจะตัดสินใจซื้อรถด้วยเหตุผลของราคา ประโยชน์ใช้สอย และอัตราการบริโภคน้ำมันของเครื่องยนต์ น้อยคนนักที่จะนึกถึงการบำรุงรักษาเครื่องยนต์หลังจากได้เป็นเจ้าของรถแล้ว ทั้งๆ ที่เป็นสิ่งจำเป็นที่เจ้าของรถควรทราบและคำนึงถึง วันนี้จึงมีข้อควรปฏิบัติสำหรับเจ้าของรถเพื่อยืดอายุการใช้งานพาหนะคู่ใจ และการบำรุงรักษาให้เหมือนใหม่เสมอ ดังนี้
- ปฏิบัติตามคู่มือการใช้รถยนต์ที่ได้มาตอนซื้อรถ ถ้ามีตารางการซ่อมบำรุงก็ใช้เป็นแนวทางในการตรวจเช็ครถ แต่ควรตรวจเช็คในคู่มืออีกที ว่าถึงเวลาเปลี่ยนอะไหล่เมื่อไหร่ อย่าลืมเปลี่ยนสายพานเมื่อรถวิ่งได้ทุกๆ 60,000 – 90,000 ไมล์ การเปลี่ยนสายพานราคาอาจจะสูงสักหน่อย แต่ก็ถูกกว่าค่าเสียที่เกิดขึ้นหากสายพานขาด
- สำหรับการซ่อมบำรุงรถ เพราะในแต่ละปีคุณควรจะมีงบในการบำรุงรักษารถ 5,000 – 20,000 บาท แล้วแต่อายุการใช้งาน ถ้ามีการสะสมงบเอาไว้ล่วงหน้าเมื่อมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นกับรถก็จะไม่กระทบกับการเงินของคุณ
- หาข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์รุ่นที่คุณใช้ รถทุกรุ่นมักจะมีเว็บไซต์ของตัวเอง บอกข้อมูล และปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นเวลาใช้ คุณจะได้มีความพร้อมที่รับมือกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับรถของคุณ
- เวลาขับขี่คอยสังเกตว่ามีเสียง หรือกลิ่นที่ผิดไปจากปกติเกิดขึ้นหรือไม่ ถ้ามีควรปรึกษาช่างเพื่อหาสาเหตุ คุณผู้ใช้รถเป็นประจำเป็นผู้ที่รู้ดีที่สุดเมื่อรถเกิดอาการผิดปกติ
- เมื่อเกิดความเสียหายกับรถให้ซ่อมทันที แม้ว่าจะเป็นความเสียหายเล็กน้อย อาทิ เบาะที่นั่งขาด หรือสายไฟหลุด เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น หรือสร้างความรำคาญให้กับคุณเอง
- ใช้อะไหล่ที่มีคุณภาพ หากมีงบประมาณจำกัดไม่สามารถซื้ออะไหล่แท้ควรปรึกษาช่างเพื่อหาทางเลือก การซื้ออะไหล่แท้มือสองก็เป็นอีกทางที่จะได้ของคุณภาพในราคาย่อมเยาว์
- ทำความสะอาดรถอย่างสม่ำเสมอ สีรถนอกจากจะช่วยให้รถดูดี ยังเป็นการปกป้องวัสดุข้างในด้วย ควรล้างรถเป็นประจำ ถ้าน้ำเริ่มไม่เกาะเป็นหยดๆ บนสีรถ ให้ลงแว็กเคลือบสี
- ควรขับรถอย่างนิ่มนวล แม้ว่าการขับรถด้วยความเร็วสูงบ้างในบางครั้งจะช่วยให้เครื่องยนต์มีความคล่องตัว แต่ไม่ควรเหยียบคันเร่งจนมิด หรือขับรถโดยใช้ความเร็วสูงตลอดเพราะไม่เป็นผลดีต่อเครื่องยนต์
1. ปิดอุปกรณ์ที่ใช้ระบบไฟทั้งหมดในรถ เช่น เครื่องปรับอากาศไฟหน้า และเครื่องเสียงต่าง ๆ เพื่อให้แบตเตอร์รี่จ่ายไฟเต็มที่
2. เหยีบครัชให้สุด (สำหรับเกียร์ AUTO ให้เข้าเกียร์ที่ตำแหน่ง N หรือ P เพื่อผ่อนแรงมอร์เตอร์สตาร์ท
3. บิดกุญแจมาที่ตำแหน่ง ON ค้างไว้ ตราวจเช็คไฟเตือนต่าง (รายละเอียดให้ศึกษาจากคู่มือรถ) รอจนไฟเตือนหัวเผารูปขดสปริงเปลี่ยนจาก สีแดงเป็นสีเขียว หากเครื่องยนต์เย็นควรกดแป้นคันเร่ง 1 ครั้ง
4. บิดกุญแจสตาร์ทเท่านี้คุณก็ไม่ต้องนั่งเสียฟอร์มสตาร์ทรถ แชะ แชะ แชะแล้วขอให้ทำจนเป็นนิสัยไม่ว่ารถเก่าหรือรถใหม่ หากทำตามวิธีนี้แล้วไม่ได้ผลให้ ท่านนำรถเข้าตรวจเช็คที่ศูนย์บริการหรือร้านซ่อมระบบไฟไดชาร์ท ไดสตาร์ทโดยทั่วไป
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเครื่องยนต์
HERDERเฮดเดอร์เป็นอุปกรณ์หนึ่งในระบบระบายไอเสียที่ได้รับความสนใจในการเพิ่มกำลังของเครื่องยนต์ แต่จะยุ่งยาก เพราะแพง หรือได้กำลังเพิ่มขึ้นมากคุ้มค่าแค่ไหน? เครื่องยนต์ 4 จังหวะที่ใช้กันในรถยนต์ทั่วไปมีการทำงานต่อเนื่อง ดูด - อัด - ระเบิด-คาย ในการหมุนเพลาข้อเหวี่ยงรอบต่อ 11 วัฏจักรการทำงาน คือ ดูด-ลูกสูบเลื่อนลง วาล์วไอดีเปิดเพื่อรับไอดีเข้ามา อัด-ลูกสูบเลื่อนขึ้น วาล์วไอดี-ไอเสียปิดสนิท เพื่ออัดเตรียมให้มีการจุดระเบิดในจังหวะต่อไป, ระเบิด-จุดระเบิด ด้วยหัวเทียน (สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน) หรือจุดระเบิดด้วยการฉีดละอองน้ำมันเข้าผสมกับอากาศที่ถูกอัดแน่นจน ร้อนจัด (สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล) แล้วต่อเนื่องถึงจังหวะสุดท้ายที่เกี่ยวข้องกับ -เฮดเดอร์- คือ คาย-ลูกสูบเลื่อนขึ้น วาล์วไอเสียเปิดเพื่อระบายไอเสียออกจากเครื่องยนต์ เและเตรียมรับไอดีในจังหวะดูดต่อไปการปรับแต่งเครื่องยนต์ให้ได้ผลเต็มที่ ต้องเพิ่มการประจุอากาศและน้ำมันในด้านไอดี ควบคู่กับการระบายไอเสีย ออกจากเครื่องยนต์ให้เร็วและหมดจดที่สุด ถ้าเพิ่มเฉพาะไอดีแต่ไอเสียระบายออกไม่ทันหรือไม่หมด กำลังของ เครื่องยนต์ก็เพิ่มขึ้นไม่เต็มที่ แม้เครื่องยนต์ที่ไม่ได้ปรับแต่งด้านการประจุไอดี แต่ถ้าสามารถเพิ่มการระบายไอเสีย ให้ดีขึ้นได้ก็จะมีกำลังเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเสมือนเครื่องยนต์เป็นบ้าน ถ้าเพิ่มเฉพาะประสิทธิภาพการนำน้ำสะอาดเข้าบ้าน โดยไม่เพิ่มประสิทธิภาพการนำน้ำเสียออก น้ำเสียอาจค้างอยู่และผสมกับน้ำดี หรือมีแรงต้านการดูดน้ำดีเข้าบ้าน และ แม้ไม่ได้เพิ่มประสิทธิภาพการนำน้ำดีเข้าบ้าน แต่ถ้าเร่งให้น้ำเสียออกจากบ้านได้เร็วและหมดจดก็ยังดีการดูแลถนอมรักษารถ
มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
ก่อนอื่นขอพูดถึงเรื่อง ความเงาของสีรถ เกิดขึ้นจาก ความสะอาด ความเรียบ และความใสของ แลกเกอร์(Clear Coated) สิ่งที่จะทำให้เกิดความสะอาด ความเรียบ ความใส ก็ต้องทำในขั้นตอนดังนี้
1. ใช้ดินน้ำมัน Over Spray Clay สำหรับการลบละอองสี ยางไม้ สิ่งสกปรกที่ติดบนผิวสี ขี้ไคลสี หลังจากล้างรถแล้ว เคลือบสี ทำให้สีรถของท่านจะเรียบสะอาด
2. ลบรอยขนแมว บนสีผมโดยใช้น้ำยาและอุปกรณ์ ฟื้นฟูสภาพผิวสี จาก Meguiars USAวิธีนี้รถของท่านจะกลับมาเหมือนใหม่ โดยสีจะใสเข้มขึ้นจากการสะท้อนที่ดีของแสงกระทบบนผิวสีที่ ขัดแล้ว ความกังวลของลูกค้าที่ Clear Coated บางลง จริงๆในการขัดนั้น จะเป็นการลบรอยบน Clear Coated เท่านั้น ซึ่งน้ำยาของ Meguiar’s นั้นไม่มีส่วนผสมของน้ำมันทำละลาย ซึ่งดมพิสูจน์ได้ ต่างจากที่ขัดจากอู่สี เขาต้องการขัดหน้า ให้ออกลึกๆ เพื่อปรับสีให้เรียบดังนั้นน้ำยาที่ใช้จึงมีส่วนผสมของน้ำยาทำละลายสูง (Solvent)เมื่อมีการขัดสีทุกครั้ง ช่างโดยทั่วไปจะใช้วิธีเดียวกันกับในอู่สีและใช้น้ำยาขัดเหมือนกันด้วยซึ่งจะทำให้สีของท่านบางลงเกินกว่าที่ต้องการลบรอย เพราะฉะนั้นการขัดฟื้นฟูสภาพสีผิวโดยกระบวนการของ Meguiar’s จึงเหมาะกับ สีรถที่ต้องการดูแลรักษาให้กลับมาเหมือนใหม่อีกครั้ง
การดูแลรถยนต์ให้ใหม่อยู่เสมอ
คนส่วนใหญ่มักจะตัดสินใจซื้อรถด้วยเหตุผลของราคา ประโยชน์ใช้สอย และอัตราการบริโภคน้ำมันของเครื่องยนต์ น้อยคนนักที่จะนึกถึงการบำรุงรักษาเครื่องยนต์หลังจากได้เป็นเจ้าของรถแล้ว ทั้งๆ ที่เป็นสิ่งจำเป็นที่เจ้าของรถควรทราบและคำนึงถึง วันนี้จึงมีข้อควรปฏิบัติสำหรับเจ้าของรถเพื่อยืดอายุการใช้งานพาหนะคู่ใจ และการบำรุงรักษาให้เหมือนใหม่เสมอ ดังนี้
- ปฏิบัติตามคู่มือการใช้รถยนต์ที่ได้มาตอนซื้อรถ ถ้ามีตารางการซ่อมบำรุงก็ใช้เป็นแนวทางในการตรวจเช็ครถ แต่ควรตรวจเช็คในคู่มืออีกที ว่าถึงเวลาเปลี่ยนอะไหล่เมื่อไหร่ อย่าลืมเปลี่ยนสายพานเมื่อรถวิ่งได้ทุกๆ 60,000 – 90,000 ไมล์ การเปลี่ยนสายพานราคาอาจจะสูงสักหน่อย แต่ก็ถูกกว่าค่าเสียที่เกิดขึ้นหากสายพานขาด
- สำหรับการซ่อมบำรุงรถ เพราะในแต่ละปีคุณควรจะมีงบในการบำรุงรักษารถ 5,000 – 20,000 บาท แล้วแต่อายุการใช้งาน ถ้ามีการสะสมงบเอาไว้ล่วงหน้าเมื่อมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นกับรถก็จะไม่กระทบกับการเงินของคุณ
- หาข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์รุ่นที่คุณใช้ รถทุกรุ่นมักจะมีเว็บไซต์ของตัวเอง บอกข้อมูล และปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นเวลาใช้ คุณจะได้มีความพร้อมที่รับมือกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับรถของคุณ
- เวลาขับขี่คอยสังเกตว่ามีเสียง หรือกลิ่นที่ผิดไปจากปกติเกิดขึ้นหรือไม่ ถ้ามีควรปรึกษาช่างเพื่อหาสาเหตุ คุณผู้ใช้รถเป็นประจำเป็นผู้ที่รู้ดีที่สุดเมื่อรถเกิดอาการผิดปกติ
- เมื่อเกิดความเสียหายกับรถให้ซ่อมทันที แม้ว่าจะเป็นความเสียหายเล็กน้อย อาทิ เบาะที่นั่งขาด หรือสายไฟหลุด เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น หรือสร้างความรำคาญให้กับคุณเอง
- ใช้อะไหล่ที่มีคุณภาพ หากมีงบประมาณจำกัดไม่สามารถซื้ออะไหล่แท้ควรปรึกษาช่างเพื่อหาทางเลือก การซื้ออะไหล่แท้มือสองก็เป็นอีกทางที่จะได้ของคุณภาพในราคาย่อมเยาว์
- ทำความสะอาดรถอย่างสม่ำเสมอ สีรถนอกจากจะช่วยให้รถดูดี ยังเป็นการปกป้องวัสดุข้างในด้วย ควรล้างรถเป็นประจำ ถ้าน้ำเริ่มไม่เกาะเป็นหยดๆ บนสีรถ ให้ลงแว็กเคลือบสี
- ควรขับรถอย่างนิ่มนวล แม้ว่าการขับรถด้วยความเร็วสูงบ้างในบางครั้งจะช่วยให้เครื่องยนต์มีความคล่องตัว แต่ไม่ควรเหยียบคันเร่งจนมิด หรือขับรถโดยใช้ความเร็วสูงตลอดเพราะไม่เป็นผลดีต่อเครื่องยนต์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)