นับจากนี้แหล่งข่าวจากมารูติ ซูซูกิ เปิดเผยว่า มันไม่ใช่แค่คอนเซ็ปต์อีกต่อไป นี่คือการทำงานของเราเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีไฮบริดซึ่งเป็นเทคโนโลยีขั้นที่สูงขึ้น การพัฒนาครั้งนี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ร่วมกับวิศวกรรมด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอินเดีย และรถยนต์รุ่นดังกล่าวจะถูกจำหน่ายในราคาที่ไม่แตกต่างจากราคารถยนต์ที่ใช้น้ำมันมากนัก
ส่วนใหญ่รถยนต์ไฮบริดจะมีระบบที่แตกต่างจากรถยนต์ทั่วไปคือ มีมอเตอร์ไฟฟ้าที่เพิ่มเข้าไปเพื่อช่วยขับเคลื่อนและเสริมแรงจากพลังงานของเครื่องยนต์และเมื่อทำการเบรก ระบบก็จะดึงพลังงานส่วนเกินกลับเข้าไปในแบตเตอรี่ ทำให้รถยนต์ไฮบริดสามารถประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้มากกว่า แต่ด้วยราคารถประเภทดังกล่าวที่สูง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อผู้บริโภค การขยายตัวของรถไฮบริดในตลาดโลกจึงค่อนข้างช้าอาร์ซี บาร์กาวา (RC Bhargava) ประธานบริษัท มารูติ กล่าวว่า การทำงานร่วมกันระกว่างบริษัทแม่กับมารูติ ซึ่งมารูติเป็นค่ายรถยนต์ที่มียอดขายอันดับหนึ่งในอินเดียนั้น ได้เริ่มต้นทำงานกันที่เทคโนโลยีไฮบริด ซึ่งมารูติมองว่าลูกค้ามีความต้องการรถยนต์ไฮบริดที่มีความเหมาะสมกับสภาพตลาด นั่นคือระบบไฮบริดที่สามารถติดตั้งได้ในรถยนต์นั่งขนาดเล็กที่ราคาประหยัด ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวถือว่ามีความจำเป็นและเป็นที่ต้องการมาก
ก่อนหน้านี้ มารูติได้แนะนำระบบส่งกำลัง "เอเอ็มที" หรือระบบเกียร์ที่ควบรวมระหว่างแมนวลและออโต้ ที่ติดตั้งภายในรถยนต์ซูซูกิ เซเลริโอ ซึ่งผสานความประหยัดของระบบแมนวลเข้ากับความสะดวกสบายของระบบเกียร์ออโต้ ซึ่งสามารถดึงดูดลูกค้าได้เป็นอย่างดี
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า มารูติน่าจะสามารถทำรถไฮบริดที่สามารถประหยัดพลังงานได้มากกว่า 25 กิโลเมตรต่อลิตรอย่างแน่นอน ซึ่งซูซูกิเองก็มีเทคโนโลยีดี ๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งอาจสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ทั้งเกียร์เอเอ็มที, เครื่องยนต์เทอร์โบชาร์จ และรถยนต์ที่ไม่ต้องใช้คลัตช์ (Clutch-less car) แต่เรื่องสำคัญที่ต้องติดตามต่อไปคือ ยอดขายที่จะคาดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งยิ่งมียอดขายที่สูงย่อมส่งผลต่อราคาจำหน่ายที่ต่ำลงด้วย เนื่องจากความสำเร็จของรถยนต์ไฮบริดขึ้นอยู่กับความสามารถในการเป็นเจ้าของสำหรับลูกค้าอินเดียเป็นสำคัญขณะเดียวกันบริษัทแม่ของซูซูกิในประเทศญี่ปุ่นก็ได้พัฒนารถยนต์ไฮบริดเวอร์ชั่นสำหรับรุ่นสวิฟท์เรียบร้อยแล้วแต่ไม่ได้ถูกบรรจุอยู่ในกลุ่มรถยนต์โลว์คอสต์ซึ่งคาดว่าน่าจะใช้เวลาอย่างน้อย2-3 ปี จึงจะสามารถทำตลาดได้
ทั้งนี้ รัฐบาลกลางอินเดียก็กำลังพิจารณาเพิ่มการซับซิไดซ์สำหรับรถยนต์ไฮบริด ภายใต้แผนการพัฒนายานยนต์อิเล็กทริกส์แห่งชาติ ที่ตั้งเป้าหมายว่าจะเพิ่มจำนวนรถยนต์อิเล็กทริกส์ (รวมถึงรถไฮบริดด้วย) ให้มากขึ้นเพื่อความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายในปี 2563 ตามแผนที่จะลดการใช้เชื้อเพลิงเหลวอย่างน้อย 0.4 ล้านตัน ในขณะที่ยอดขายรถยนต์อิเล็กทริกและไฮบริดจะอยู่ที่ 1.4 ล้านคัน ทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์อินเดียต้องมองหาทางเลือกที่ปฏิบัติได้จริงในการลดการนำเข้าน้ำมัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น