วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การใช้โทรศัพท์มือถือระหว่างการเติมน้ำมันที่ปั๊ม


เพื่อประโยชน์กับสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง และสามารถเป็นประโยชน์กับหน่วยงานปฏิบัติ การที่มีการรับ - จ่ายน้ำมันและก๊าชได้ด้วย จึงขอนำเสนอกกรณีอุบัติเหตุจากการใช้โทรศัพท์มือถือระหว่างการเติมน้ำมันที่สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งผลจากอุบัติเหตุดังกล่าวทำให้ลูกค้าได้รับบาดเจ็บและทรัพย์สินเสียหาย 3 เหตุการณ์ ดังต่อไปนี้

1.ลูกค้าได้วางโทรศัพท์มือถือไว้ที่ท้ายรถขณะที่กำลังเติมน้ำมันและมีเสียงโทรศัพท์มือถือดังขึ้น ได้ส่งผลให้เกิดไฟลุกไหม้ รถยนต์และสถานีบริการน้ำมันได้รับความเสียหาย
2.ลูกค้าถูกไฟลวกที่บริเวณใบหน้า ขณะที่กำลังคุยโทรศัพท์มือถือระหว่างเติมน้ำมัน
3.ลูกค้าถูกไฟลวกที่ต้นขาและขาหนีบ เนื่องจากโทรศัพท์มือถืออยู่ในกระเป๋ากางเกงและมีสัญญาณเรียกเข้าให้เกิดไฟลุกไหม้ น้ำมัน นอกจากนั้นแล้วยังมีรายงานว่าเคยเกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์มือถือลักษณะเช่นนี้ที่แท่นขุดเจาะในทะเลอีกด้วย
ข้อมูลสำคัญ
โทรศัพท์มือถือสามารถทำให้เกิดประกายไฟและจุดติดไฟกับเชื้อเพลิงได้ (lgnite) โทรศัพท์มือถือยิ่งทันสมัยมากเท่าไร พลังงานที่ถูกปล่อยออกมาก็มากเพียงพอ ที่จะทำให้เกิดประกายไฟและจุดติดไฟได้ทั้ง ในขณะที่ทำการปิด - เปิด หรือกดปุ่มรับโทรศัพท์มือถือมีสัญญาณเรียกเข้ามา

ปิดโทรศัพท์มือถือก่อนเข้าไปในพื้นที่รับ-จ่ายน้ำมันและก๊าช บริเวณที่มีการขนย้ายและเก็บเชื้อเพลิง/สารเคมีสถานที่ก่อสร้าง (ข้อมูลจาก PTT Risk Alert Vol1/2002 เดือนกุมภาพันธ์ 2545 Safety (Risk ) Aler) ของ Unocal ฉบับวันที่ 18 พฤศจิกายน 2545 ซึ่งเป็นข้อมูลจากเซลล์ เนเธอร์แลนด์ วารสาร safety&Health ฉบับ เดือนสิงหาคม 2545 และ Mine Safety and Health Administration) ข้อสังเกต สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่เกิดเหตุนี้น่าจะเป็นสถานีบริการฯ ของต่างประเทศที่ลูกค้าเป็นผู้เติมน้ำมันเองหรือเป็นเหตุการณ์ที่คนที่ได้รับอุบัติเหตุกำลังอยู่ด้านนอกรถ

ข้อควรปฏิบัติสำหรับพื้นที่รับ-จ่ายน้ำมันและก๊าซ

1.ประกาศเป็นกฏความปลอดภัย หรือติดป้ายเตือนอันตรายให้ปิดโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์สื่อสารทุกชนิดก่อนเข้าพื้นที่รับ -จ่ายน้ำมันและก๊าซ โดยเฉพาะฤดูหนาวอากาศแห้งจะทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตย์มาก
2.แจ้งเตือน รปภ.พนักงานขับรถ ผู้ปฏิบัติงาน ลูกค้า ให้ทราบอันตรายอย่างทั่วถึง
3.ต้องเป็นโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์สื่อสารชนิด Explosion Proof เท่านั้น จึงอนุญาตให้นำเข้าไปใช้งานได้ เผยแพร่โดย: ส่วนนโยบายคุณภาพความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ผ่ายคุณภาพความปลอดภัยอาชีวอานามัยและสิ่งแวดล้อม ธันวาคม 45

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น